ต่อใบขับขี่ 2564 รวมรายละเอียดขั้นตอนการทำใบขับขี่
ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับรถ คือเอกสารสำคัญสำหรับผู้ขับขี่รถทุกประเภทต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาอย่างถูกต้อง หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ใครที่จะขับขี่รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ออกมาบนท้องถนนก็ต้องไปสอบใบขับขี่ให้เรียบร้อยเสียก่อนนั่นเอง
ขณะที่ใบขับขี่นั้นมีกำหนดอายุการใช้งาน นั่นเท่ากับว่าผู้ขับขี่ทุกคนก็มีหน้าที่ต้องไปต่อใบขับขี่เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ฉะนั้นมาดูกันว่า การต่อใบขับขี่ต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ตั้งแต่การจองคิวใบขับขี่ จนถึงการเดินทางไปทำใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่ง เรื่องค่าใช้จ่ายในการทำใบขับขี่ รวมถึงข้อมูลในเรื่องอื่น ๆ ต้องมีข้อปฏิบัติอย่างไร โดยแบ่งรายละเอียดตามกรณีต่อไปนี้
- การจองคิวต่อใบขับขี่
- การต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี (เปลี่ยนจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี)
- การต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี (ต่อชนิด 5 ปี เป็นชนิด 5 ปี)
จองคิวต่อใบขับขี่
กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ผู้ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับใบขับขี่ตามพ.ร.บ.รถยนต์ ต้องทำการ จองคิวทำใบขับขี่ เพื่อเข้ารับการอบรมล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการขอใบอนุญาตขับขี่ชนิดชั่วคราวหรือทำใบขับขี่ใหม่ หรือการต่อใบขับขี่ประเภทต่าง ๆ โดยสามารถทำการจองผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
1. จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ ปัจจุบันน่าจะถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด โดยสามารถทำการจองผ่านแอพพลิเคชั่น DLT Smart Queue หรือทำการจองทางเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
2. จองคิวต่อใบขับขี่ทางโทรศัพท์ โดยติดต่อไปยังหมายเลขของสำนักงานขนส่งพื้นที่ต่าง ๆ
3. จองคิวต่อใบขับขี่ด้วยตนเอง โดยเดินทางไปยังสำนักงานขนส่งพื้นที่ต่าง ๆ
ต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี
การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคล เปลี่ยนจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือที่เรียกว่าต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี คือขั้นตอนหลังจากที่ทำใบขับขี่ครั้งแรกและได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้ว 1 ปี โดยการต่อใบขับขี่ครั้งต่อไปก็จะเป็นการขอรับใบขับขี่ชนิด 5 ปีนั่นเอง ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่ชนิด 5 ปี
1. ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์, ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว หรือไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
3. ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกลงโทษปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 6 เดือนแล้ว
• ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย
• ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
• ในลักษณะกีดขวางการจราจร
• ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
• โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
• โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น
4. ใบขับขี่ชั่วคราวต้องไม่หมดอายุมาเกินกว่า 1 ปี หากหมดอายุเกิน 1 ปี ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติม
ต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ใช้เอกสารอะไรบ้าง
1. ใบขับขี่ชั่วคราวที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
2. บัตรประชาชนตัวจริง
3. ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอต่อใบขับขี่ไม่เกิน 1 เดือน
ขั้นตอนต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ต้องสอบอะไรบ้าง
1. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
• ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
• ทดสอบสายตาทางลึก
• ทดสอบสายตาทางกว้าง
• ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)
3. ชำระค่าธรรมเนียม ถ่ายรูปติดใบขับขี่ และรับใบขับขี่ โดยค่าใช้จ่ายแบ่งเป็น ค่าคำร้อง 5 บาท และค่าธรรมเนียมใบขับขี่ตามแต่ละประเภท หากเป็นใบขับขี่รถยนต์ 500 บาท (รวม 505 บาท) ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 250 บาท (รวม 255บาท)
หมายเหตุ หากใบขับขี่ชั่วคราวหมดอายุแล้วเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียนใหม่ และหากหมดอายุเกิน 3 ปี ต้องเข้าอบรม, ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถใหม่ทั้งหมด
ต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี
สำหรับใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคล ทั้งใบขับขี่รถยนต์ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ และใบขับขี่รถจักรยานยนต์หรือใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ มีอายุ 5 ปี ซึ่ง ซึ่งการต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี มีหลักเกณฑ์ดังนี้
คุณสมบัติของผู้ขอต่อใบขับขี่
1. เป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถบดถนน ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ หรือใบขับขี่รถชนิดอื่นอยู่เดิมแล้ว
2. ผู้ขอยังคงมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ถือใบขับขี่ชนิดนั้น ๆ
3. ใบขับขี่ฉบับเดิม ต้องไม่หมดอายุมาเกินกว่า 1 ปี หากหมดอายุเกิน 1 ปี ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติม
ต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี ใช้เอกสารอะไรบ้าง
1. ใบขับขี่เดิม หรือใบแทน
2. บัตรประชาชนฉบับจริง
หมายเหตุ - กรมการขนส่งทางบกได้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการ ต่อใบขับขี่ และ ทำใบขับขี่ ทุกประเภท ต้องใช้ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารประกอบด้วย เริ่มตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
ขั้นตอนต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี ต้องสอบอะไรบ้าง
1. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
- ทดสอบสายตาทางลึก
- ทดสอบสายตาทางกว้าง
- ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)
3. ชำระค่าธรรมเนียม ถ่ายรูปติดใบขับขี่ และรับใบขับขี่ โดยค่าใช้จ่ายแบ่งเป็น ค่าคำร้อง 5 บาท และค่าธรรมเนียมใบขับขี่ตามแต่ละประเภท หากเป็นใบขับขี่รถยนต์ 500 บาท (รวม 505 บาท) ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 250 บาท (รวม 255บาท)
หมายเหตุ หากใบขับขี่ชั่วคราวหมดอายุแล้วเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียนใหม่ และหากหมดอายุเกิน 3 ปี ต้องเข้าอบรม, ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถใหม่ทั้งหมด รวมทั้งต้องยื่นเอกสารใบรับรองแพทย์เพิ่มเติมด้วย
ใบขับขี่หมดอายุต้องต่อภายในกี่วัน
กรณีที่ ใบขับขี่หมดอายุ ในส่วนของใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ ใบขับขี่รถยนต์ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ และใบขับขี่รถจักรยานยนต์ สามารถยื่นคำขอใบอนุญาตใหม่ หรือ ทำการต่อใบขับขี่ ได้โดยมีเงื่อนไขคือ
- หากใบขับขี่หมดอายุมาแล้วไม่เกิน 1 ปี สามารถยื่นคำขอต่อใบขับขี่ได้เลย
- หากใบขับขี่หมดอายุมาแล้วเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียนใหม่
- หากใบขับขี่หมดอายุมาแล้วเกิน 3 ปี ต้องเข้ารับการอบรม สอบข้อเขียนใหม่ และทดสอบขับรถใหม่ทั้งหมด รวมทั้งต้องยื่นเอกสารใบรับรองแพทย์เพิ่มเติมด้วย
ทําใบขับขี่ต้องอายุเท่าไหร่
กรมการขนส่งทางบก ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอทำใบขับขี่ประเภทต่าง ๆ ต้องมีอายุตามเกณฑ์ดังนี้
- ใบขับขี่ส่วนบุคคล ได้แค่ ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ และใบขับขี่รถยนต์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
- แต่หากเป็นการขอใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ชั่วคราว สำหรับมอเตอร์ไซค์ที่มขนาดกระบอกสูบไม่เกิน 110 ซี.ซี. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ และใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี
- ใบขับขี่รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และใบขับขี่รถประเภทอื่น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
เอกสารต่อใบขับขี่ ใช้อะไรบ้าง
- บัตรประชาชน
- ใบขับขี่เดิมที่หมดอายุ
- ใบรับรองแพทย์ (สำหรับผู้ต่ออายุใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ส่วนต่อทุก 5 ปี ไม่ต้องใช้)
หมายเหตุ - กรมการขนส่งทางบกได้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการ ต่อใบขับขี่ และ ทำใบขับขี่ ทุกประเภท ต้องใช้ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารประกอบด้วย รวมถึงการต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
ตัวอย่างการเดินทางไปต่อใบขับขี่ที่ กรมการขนส่งทางบก จตุจักร
สำหรับการเดินทางไปต่อใบขับขี่ด้วยตัวเอง ที่กรมการขนส่งทางบก จตุจักร มีขั้นตอนดังนี้
- ไปที่ตึก 4 ชั้น 2 เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ แจ้งต่อใบขับขี่
- อยู่ที่ชั้น 2 เข้าไปด้านใน ช่อง 24-26 ยื่นหลักฐานการต่อใบขับขี่ จะได้ใบทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- ไปชั้น 3 เลี้ยวขวา เคาน์เตอร์ในสุด ลงคิว ตรวจร่างกาย ตรงทางออกจะได้เอกสารพร้อมผลการตรวจคืน
- ไปชั้น 4 ลงทะเบียนการอบรม (มีรอบอบรมทุกครึ่ง ชม. รอบแรก 09.00 น.) ใช้เวลา 1 ชม. จะมีเจ้าหน้าที่คืนเอกสารเมื่อจบการอบรม
- ไปที่ชั้น 2 ยื่นเอกสารให้เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รับใบคิวและรอเรียกถ่ายรูปพร้อมรับใบขับขี่

- ไปที่ตึก 4 ชั้น 2 เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ แจ้งต่อใบขับขี่ เปิด 07.45 น.

- อยู่ที่ชั้น 2 เข้าไปด้านใน ช่อง 24-26 ยื่นหลักฐานการต่อใบขับขี่ จะได้ใบทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

- ไปชั้น 3 เลี้ยวขวา เคาน์เตอร์ในสุด ลงคิว ตรวจร่างกาย จุดนี้หากคนใช้บริการเยอะจะรอคิวนาน เวลาทดสอบต่อคนประมาณ 5 นาที ทำการทดสอบ 4 อย่าง
- ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ (สีแดง เขียว เหลือง)
- ทดสอบสายตาทางลึก
- ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)
- ทดสอบสายตาทางกว้าง (สีแดง เขียว เหลือง)

ตรงทางออกจะได้เอกสารพร้อมผลการตรวจคืน

- ไปชั้น 4 ลงทะเบียนการอบรม มีรอบอบรมทุกครึ่ง ชม. รอบแรก 09.00 น. และสุดท้าย 14.00 น. ใช้เวลา 1 ชม. จะมีเจ้าหน้าที่คืนเอกสารเมื่อจบการอบรม

- ไปที่ชั้น 2 ยื่นเอกสารให้เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รับใบคิวและรอเรียกถ่ายรูป จ่ายเงินค่าธรรมเนียม
- ใบขับขี่รถยนต์ 2 ปี ชำระ 200 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวม 205 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์ 5 ปี ชำระ 500 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวม 505 บาท
- ใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ 2 ปี ชำระ 100 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวม 105 บาท
- ใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ 5 ปี ชำระ 250 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวม 255 บาท
การต่อใบขับขี่ที่ขาดต่อเกิน 1-3 ปีขึ้นไป
- กรณีที่ใบขับขี่หมดอายุและขาดต่อเกิน 1 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตร 3 ชั่วโมง และสอบข้อเขียนใหม่
- ส่วนใบขับขี่หมดอายุและขาดต่อเกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรเต็มวัน พร้อมสอบข้อเขียนและปฏิบัติใหม่ทั้งหมด
โดยทั้ง 2 กรณีจะต้องทำการจองคิวอบรมล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อระบุวัน เวลา และสถานที่ที่ต้องการ
- ขั้นตอนแรกดาวน์โหลดแอปฯ DLT Smart Queue และสมัครเข้าใช้งาน
- เลือกจังหวัดและสำนักงานขนส่งที่สะดวก

-
จากนั้นเลือกหัวข้อ ขอรับใบอนุญาต (สอบใหม่ หรือขาดต่อเกิน 1 ปีขึ้นไป)
-
เลือกวันที่ต้องการ โดยระบบจะแจ้งจำนวนผู้เข้ารับการอบรมว่าเต็มหรือไม่

- เมื่อเลือกวันที่สะดวกแล้ว ให้ทำการกด “ยืนยันการจอง”
-
ระบบจะขึ้นใบนัดการจองที่ระบุ วัน เวลา ประเภท และสถานที่ให้ (ตามภาพ) นั่นแสดงว่าคุณได้ทำการจองวันอบรมเป็นที่เรียบร้อย

หลักฐานที่ต้องเตรียม สำหรับขาดต่อเกิน 1-3 ปี ขึ้นไป
-
บัตรประชาชนฉบับจริง
-
ใบขับขี่เก่า (ถ้ามี)
-
ใบรับรองแพทย์ ที่ออกในช่วงเวลาไม่เกิน 1 เดือน
กฎระเบียบที่ต้องทราบ
-
โปรดแต่งกายสุภาพในวันที่นัดอบรม ห้ามใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ
-
ยื่นเอกสารตั้งแต่เวลา 07.45 - 08.30 น. หากไม่ติดต่อในเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์และต้องทำการจองคิวใหม่
-
กรณีทุพพลภาพ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนจองคิวอบรม
-
เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ยกเลิกการจองของผู้รับบริการในกรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น
กรมการขนส่งทางบกประกาศงดให้บริการด้านใบขับขี่
หลังจากมีการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อ โควิด 19 กรมการขนส่งทางบก ได้ประกาศงดการให้บริการ ด้าน ใบอนุญาตขับรถ หรือ ใบขับขี่ ในส่วนที่ต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบ ณ สำนักงานขนส่ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ กรมการขนส่งทางบก ประกาศงดอบรมใบขับขี่-ทำ-ต่อใบขับขี่ใหม่ ป้องกันโควิด 19
หมายเหตุ - ใบขับขี่ จะหมดอายุตามวันที่ระบุ ซึ่งจะตรงกับวันที่ทำ โดยสามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ 3 เดือน ก่อนถึงวันหมดอายุ