ฝนตกหนัก ต้องขับรถลุยน้ำท่วมสูง ควรทำอย่างไรจึงจะขับรถผ่านน้ำท่วมได้อย่างปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้มากที่สุด
สำหรับผู้ที่ขับขี่รถยนต์เป็นประจำ ปัญหาฝนตกรถติดคงเป็นเรื่องต้องเคยเจอ โดยเฉพาะวันไหนที่ฝนตกหนักนอกจากการจราจรจะเป็นอัมพาตแล้ว ยังเสี่ยงเจอกับน้ำรอการระบายในเส้นทางที่ต้องสัญจรผ่านด้วย "การขับรถลุยน้ำท่วม" จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
แน่นอนว่ารถยนต์ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาให้ขับลุยน้ำท่วมสูง เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่อยากจะแนะนำ คือ ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางที่น้ำท่วมสูงโดยศึกษาเส้นทางและติดตามข่าวสารก่อนออกเดินทางล่วงหน้าเมื่อเห็นว่าฝนจะตกหนัก
แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรประเมินระดับน้ำที่ท่วมอยู่ ว่าเสี่ยงเกินไปหรือไม่ เช่น หากเป็นน้ำที่ท่วมขังแค่สัก 10 เซนติเมตร หรือระดับไม่เกินข้อเท้า รถส่วนใหญ่ตั้งแต่รถเก๋งขนาดเล็กก็สามารถค่อย ๆ ขับผ่านไปได้เลย เพราะอยู่ในระดับที่ยังท่วมไม่ถึงท้องรถและท่อไอเสียนั่นเอง
สำหรับรถยนต์แบบต่าง ๆ จะมีความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถ (ground clearance) โดยประมาณ ดังนี้
- รถเก๋งเล็ก (รถเก๋งทั่วไป, รถอีโคคาร์, รถ MPV) ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 14.5 เซนติเมตร
- รถกระบะเตี้ย, กระบะขนของ ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 18 เซนติเมตร
- รถกระบะยกสูง ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 22 เซนติเมตร
- รถอเนกประสงค์ (SUV, PPV) ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 22 เซนติเมตร
ตามที่กล่าวไปแล้วการจะขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไรให้ปลอดภัยหากเจอกับน้ำท่วมไม่สูงนัก ผู้ขับสามารถค่อย ๆ ขับรถผ่านจุดที่น้ำท่วมขังได้โดยไม่มีปัญหา แต่หากระดับน้ำสูงกว่านั้น คือสูงถึงใต้ท้องรถ หรือท่วมถึงขอบประตูรถ หรือท่วมถึงปลายท่อไอเสียองใช้ความระมัดระวังและควรปฏิบัติ ดังนี้
- ปิดแอร์ทันที เพราะหากเปิดแอร์ไว้พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำจะทำงาน ซึ่งเมื่อน้ำท่วมถึง พัดลมจะตีน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง อาจเกิดไฟช็อตและทำให้เครื่องยนต์ดับ แถมยังมีความเสี่ยงที่ใบพัดลมจะหักอีกด้วย
- ใช้เกียร์ต่ำ หากเป็นเกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ 1-2 เพราะรถต้องใช้แรงในการฝ่าน้ำ ควบคุมความเร็วรถให้ต่ำ รถเบาดับยากที่สุด ส่วนกรณีที่เป็นเกียร์อัตโนมัติก็ปรับตำแหน่งคันเกียร์มาที่ L (Low) เสมอ
- รักษาความเร็วต่ำอย่างสม่ำเสมอ หรือรักษารอบเครื่องยนต์ไว้ที่ 1,500-2,000 รอบต่อนาที ไม่ขับเร็วเพราะอาจทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะกระทบกับขอบทางเท้าหรือสิ่งกีดขวางอื่น นอกจากนี้ การขับตามคันหน้าในระยะที่ปลอดภัยนับเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้สามารถคาดการณ์ลักษณะของพื้นผิวถนนที่จมอยู่ใต้น้ำได้ เรียกง่าย ๆ ว่าให้คันหน้าช่วยนำทางนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไม่แนะนำอย่างยิ่งสำหรับการขับรถลุยน้ำท่วมสูงก็คือ หากประเมินสถานการณ์แล้วพบว่ามีโอกาสที่จะต้องหยุดหรือจอดรถแช่น้ำ หรือเส้นทางที่จะผ่านมีน้ำท่วมสูงเป็นระยะทางไกลเกินไป แบบนี้มีความเสี่ยงที่รถจะดับหรือเกิดความเสียหายได้มาก และหากเกิดกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือน้ำท่วมรถดับในขณะที่แช่น้ำท่วมสูง ห้ามสตาร์ตเครื่องยนต์โดยเด็ดขาด เพราะน้ำอาจจะเข้าสู่เครื่องยนต์ทำให้เกิดความเสียหาย ถึงตอนนี้มีทางเลือกอย่างเดียวคือหาวิธีเข็นหรือลากรถไปอยู่ในบริเวณที่พ้นน้ำแล้วหาวิธีแก้ไขต่อไป
ประเมินสถานการณ์ก่อนลุยน้ำ
ภาพจาก shutterstock.com/Robert Hiette
- รถเก๋งเล็ก (รถเก๋งทั่วไป, รถอีโคคาร์, รถ MPV) ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 14.5 เซนติเมตร
- รถกระบะเตี้ย, กระบะขนของ ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 18 เซนติเมตร
- รถกระบะยกสูง ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 22 เซนติเมตร
- รถอเนกประสงค์ (SUV, PPV) ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 22 เซนติเมตร
ลุยน้ำท่วมอย่างไรให้ปลอดภัย
ตามที่กล่าวไปแล้วการจะขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไรให้ปลอดภัยหากเจอกับน้ำท่วมไม่สูงนัก ผู้ขับสามารถค่อย ๆ ขับรถผ่านจุดที่น้ำท่วมขังได้โดยไม่มีปัญหา แต่หากระดับน้ำสูงกว่านั้น คือสูงถึงใต้ท้องรถ หรือท่วมถึงขอบประตูรถ หรือท่วมถึงปลายท่อไอเสียองใช้ความระมัดระวังและควรปฏิบัติ ดังนี้
- ปิดแอร์ทันที เพราะหากเปิดแอร์ไว้พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำจะทำงาน ซึ่งเมื่อน้ำท่วมถึง พัดลมจะตีน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง อาจเกิดไฟช็อตและทำให้เครื่องยนต์ดับ แถมยังมีความเสี่ยงที่ใบพัดลมจะหักอีกด้วย
- ใช้เกียร์ต่ำ หากเป็นเกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ 1-2 เพราะรถต้องใช้แรงในการฝ่าน้ำ ควบคุมความเร็วรถให้ต่ำ รถเบาดับยากที่สุด ส่วนกรณีที่เป็นเกียร์อัตโนมัติก็ปรับตำแหน่งคันเกียร์มาที่ L (Low) เสมอ
- รักษาความเร็วต่ำอย่างสม่ำเสมอ หรือรักษารอบเครื่องยนต์ไว้ที่ 1,500-2,000 รอบต่อนาที ไม่ขับเร็วเพราะอาจทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะกระทบกับขอบทางเท้าหรือสิ่งกีดขวางอื่น นอกจากนี้ การขับตามคันหน้าในระยะที่ปลอดภัยนับเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้สามารถคาดการณ์ลักษณะของพื้นผิวถนนที่จมอยู่ใต้น้ำได้ เรียกง่าย ๆ ว่าให้คันหน้าช่วยนำทางนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไม่แนะนำอย่างยิ่งสำหรับการขับรถลุยน้ำท่วมสูงก็คือ หากประเมินสถานการณ์แล้วพบว่ามีโอกาสที่จะต้องหยุดหรือจอดรถแช่น้ำ หรือเส้นทางที่จะผ่านมีน้ำท่วมสูงเป็นระยะทางไกลเกินไป แบบนี้มีความเสี่ยงที่รถจะดับหรือเกิดความเสียหายได้มาก และหากเกิดกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือน้ำท่วมรถดับในขณะที่แช่น้ำท่วมสูง ห้ามสตาร์ตเครื่องยนต์โดยเด็ดขาด เพราะน้ำอาจจะเข้าสู่เครื่องยนต์ทำให้เกิดความเสียหาย ถึงตอนนี้มีทางเลือกอย่างเดียวคือหาวิธีเข็นหรือลากรถไปอยู่ในบริเวณที่พ้นน้ำแล้วหาวิธีแก้ไขต่อไป
ข้อปฏิบัติหลังผ่านน้ำท่วมสูงมาได้
หลังจากสามารถขับรถฝ่ากระแสน้ำมาได้โดยที่รถไม่ดับกลางคัน ถือได้ว่ารอดจากสถานการณ์ไปได้ แต่ก็ยังไม่จบแค่นั้น ผู้ใช้รถยังควรที่จะมีขั้นตอนปฏิบัติเพื่อตรวจสอบและรักษารถยนต์เบื้องต้น ดังนี้
- หลังจากขับลุยผ่านน้ำท่วมสูงได้แล้ว ให้ใช้ความเร็วต่ำและเหยียบเบรกย้ำ ๆ ไล่น้ำออกจากคาลิเปอร์-ผ้าเบรก ซึ่งจะเป็นการเช็กว่าระบบเบรกยังใช้งานได้ปกติ
- หากต้องการจอดเช็กรถหลังจากเพิ่งลุยน้ำห้ามดับเครื่องยนต์ เพราะต้องระวังน้ำที่ค้างและทำให้เกิดความชื้นในห้องเครื่อง รวมไปถึงท่อไอเสีย หากดับเครื่องทันทีอาจมีน้ำที่ค้างย้อนเข้าสู่ท่อได้
- ดำเนินการตรวจสอบรถในส่วนอื่นต่อไป เช่น มีน้ำซึมเข้าห้องโดยสารหรือไม่ สีรอบตัวรถ หรือล้อและยางได้รับความเสียหายใด ๆ หรือเปล่า
- หากรถมีอาการผิดปกติ เช่น เครื่องยนต์สั่น เดินไม่เรียบ เสียงดัง เร่งเครื่องไม่ขึ้น ควรนำรถไปให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจสอบสภาพก่อนนำรถไปใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จะดูอย่างไรว่า "รถมือสอง" คันไหนโดนน้ำท่วมมา กรณีผู้ขายไม่แสดงความจริงใจ แม้อาจตรวจสอบได้ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งรถที่โดนน้ำท่วมน้อย หรือท่วมไม่นาน จะสังเกตได้ยากมากเข้าไปอีก แต่จำเป็นต้องรู้และดูให้ละเอียดที่สุดในจุดที่ซ่อนได้ยาก อ่าน 6 จุดสังเกตรถน้ำท่วม ดูยังไงไม่ให้โดนหลอก