ใบขับขี่ไทยใช้ได้กี่ประเทศ 2566 สำหรับใบขับขี่สากล 1 ปี และใบขับขี่สากล 3 ปี รวมถึงหลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับใบขับขี่สากล ตลอดจนมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดกี่บาท สามารถตรวจสอบได้เลย
ใบขับขี่ไทยใช้ได้กี่ประเทศ 2566 อัปเดตล่าสุด สำหรับผู้ที่ต้องการขับรถยนต์ในต่างประเทศ เช่น เช่ารถขับเพื่อเดินทางท่องเที่ยวเอง ซึ่งอาจสะดวก มีความเป็นส่วนตัว หรือประหยัดกว่าการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ แต่แน่นอนว่าผู้ขับขี่จำเป็นต้องมีใบขับขี่สากลเสียก่อน ซึ่งใบขับขี่สากลของไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ โดยขึ้นอยู่กับประเทศที่เดินทางเป็นหลัก เพราะจำนวนประเทศที่ใช้ได้ต่างกัน ส่วนใบขับขี่สากลแต่ละแบบใช้กับประเทศอะไรได้บ้าง ต้องยื่นเอกสารหรือมีขั้นตอนการดำเนินการขอยังไง และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เช็กได้ทั้งหมดที่นี่
ใบขับขี่ไทยใช้ได้กี่ประเทศ
ผู้ที่มีใบขับขี่ไทย (แบบ 5 ปี, ตลอดชีพ และขนส่ง) สามารถยื่นขอรับใบขับขี่สากล หรือใบขับขี่ระหว่างประเทศ เพื่อใช้ขับรถยนต์ในต่างประเทศได้ แต่ใบขับขี่สากลใช้ประเทศไหนได้บ้าง มีอายุกี่ปี ขึ้นอยู่กับประเภทที่เลือก โดยปัจจุบันแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
-
แบบที่ 1 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ นครเจนีวา 1949 ใช้ได้ใน 102 ประเทศ มีอายุ 1 ปี
-
แบบที่ 2 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ กรุงเวียนนา 1968 ใช้ได้ใน 86 ประเทศ มีอายุ 3 ปี
ใบขับขี่สากล 1 ปี และ 3 ปี ใช้กับประเทศไหนได้บ้าง
ใบขับขี่สากล 1 ปี ตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ นครเจนีวา 1949 นำไปใช้ได้ใน 101 ประเทศ (รวมไทยเป็น 102 ประเทศ) ขณะที่ใบขับขี่สากล 3 ปี ตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ กรุงเวียนนา 1968 นำไปใช้ได้ 85 ประเทศ (รวมไทยเป็น 86 ประเทศ) ส่วนจะเลือกใบขับขี่สากลแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเทศที่จะเดินทางไป ดังนี้
ประเทศ |
อนุสัญญาเจนีวา 1949 |
อนุสัญญาเวียนนา 1968 |
---|---|---|
แอลเบเนีย |
✔️ |
✔️ |
แอลจีเรีย |
✔️ |
|
อาร์เจนตินา |
✔️ |
|
อาร์เมเนีย |
|
✔️ |
ออสเตรเลีย |
✔️ |
|
ออสเตรีย |
✔️ |
✔️ |
อาเซอร์ไบจาน |
|
✔️ |
บาฮามาส |
|
✔️ |
บาห์เรน |
|
✔️ |
บังกลาเทศ |
✔️ |
|
บาร์เบโดส |
✔️ |
|
เบลารุส |
|
✔️ |
เบลเยียม |
✔️ |
✔️ |
เบนิน |
✔️ |
✔️ |
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา |
|
✔️ |
บอตสวานา |
✔️ |
|
บราซิล |
|
✔️ |
บรูไนดารุสซาลาม |
✔️ |
|
บัลแกเรีย |
✔️ |
✔️ |
บูร์กินาฟาโซ |
✔️ |
|
กาบูเวร์ดี |
|
✔️ |
กัมพูชา |
✔️ |
|
แคนาดา |
✔️ |
|
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง |
✔️ |
✔️ |
ชิลี |
✔️ |
|
คองโก |
✔️ |
|
โกตดิวัวร์ |
✔️ |
✔️ |
โครเอเชีย |
✔️ |
✔️ |
คิวบา |
✔️ |
✔️ |
ไซปรัส |
✔️ |
|
สาธารณรัฐเช็ก |
✔️ |
✔️ |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก |
✔️ |
✔️ |
เดนมาร์ก |
✔️ |
✔️ |
สาธารณรัฐโดมินิกัน |
✔️ |
|
เอกวาดอร์ |
✔️ |
|
อียิปต์ |
✔️ |
|
เอสโตเนีย |
✔️ |
✔️ |
เอธิโอเปีย |
|
✔️ |
ฟิจิ |
✔️ |
|
ฟินแลนด์ |
✔️ |
✔️ |
ฝรั่งเศส |
✔️ |
✔️ |
จอร์เจีย |
✔️ |
✔️ |
เยอรมนี |
|
✔️ |
กานา |
✔️ |
|
กรีซ |
✔️ |
✔️ |
กัวเตมาลา |
✔️ |
|
กายอานา |
|
✔️ |
เฮติ |
✔️ |
|
ฮ่องกง |
✔️ |
|
ฮอนดูรัส |
✔️ |
|
ฮังการี |
✔️ |
✔️ |
ไอซ์แลนด์ |
✔️ |
|
อินเดีย |
✔️ |
|
อิหร่าน |
|
✔️ |
อิรัก |
|
✔️ |
ไอร์แลนด์ |
✔️ |
|
อิสราเอล |
✔️ |
✔️ |
อิตาลี |
✔️ |
✔️ |
จาเมกา |
✔️ |
|
ญี่ปุ่น |
✔️ |
|
จอร์แดน |
✔️ |
|
คาซัคสถาน |
|
✔️ |
เคนยา |
|
✔️ |
คูเวต |
|
✔️ |
คีร์กีซสถาน |
✔️ |
✔️ |
ลาว |
✔️ |
|
ลัตเวีย |
|
✔️ |
เลบานอน |
✔️ |
|
เลโซโท |
✔️ |
|
ไลบีเรีย |
|
✔️ |
ลิกเตนสไตน์ |
✔️ |
✔️ |
ลิทัวเนีย |
✔️ |
✔️ |
ลักเซมเบิร์ก |
✔️ |
✔️ |
มาเก๊า |
✔️ |
|
มาดากัสการ์ |
✔️ |
|
มาลาวี |
✔️ |
|
มาเลเซีย |
✔️ |
|
มาลี |
✔️ |
|
มอลตา |
✔️ |
|
มอลโดวา |
|
✔️ |
โมนาโก |
✔️ |
✔️ |
มองโกเลีย |
|
✔️ |
มอนเตเนโกร |
✔️ |
✔️ |
โมร็อกโก |
✔️ |
✔️ |
เมียนมา |
|
✔️ |
นามิเบีย |
✔️ |
|
เนเธอร์แลนด์ |
✔️ |
✔️ |
นิวซีแลนด์ |
✔️ |
|
ไนเจอร์ |
✔️ |
✔️ |
ไนจีเรีย |
✔️ |
✔️ |
มาซิโดเนียเหนือ |
|
✔️ |
นอร์เวย์ |
✔️ |
✔️ |
โอมาน |
|
✔️ |
ปากีสถาน |
|
✔️ |
ปาปัวนิวกินี |
✔️ |
|
ปารากวัย |
✔️ |
|
เปรู |
✔️ |
✔️ |
ฟิลิปปินส์ |
✔️ |
✔️ |
โปแลนด์ |
✔️ |
✔️ |
โปรตุเกส |
✔️ |
✔️ |
กาตาร์ |
|
✔️ |
โรมาเนีย |
✔️ |
✔️ |
รัสเซีย |
✔️ |
✔️ |
รวันดา |
✔️ |
|
ซานมาริโน |
✔️ |
✔️ |
ซาอุดีอาระเบีย |
|
✔️ |
เซเนกัล |
✔️ |
✔️ |
เซอร์เบีย |
✔️ |
✔️ |
เซเชลส์ |
|
✔️ |
เซียร์ราลีโอน |
✔️ |
|
สิงคโปร์ |
✔️ |
|
สโลวาเกีย |
✔️ |
✔️ |
สโลวีเนีย |
✔️ |
✔️ |
แอฟริกาใต้ |
✔️ |
✔️ |
เกาหลีใต้ |
✔️ |
|
สเปน |
✔️ |
|
ศรีลังกา |
✔️ |
|
ปาเลสไตน์ |
✔️ |
|
สวีเดน |
✔️ |
✔️ |
สวิตเซอร์แลนด์ |
|
✔️ |
ซีเรีย |
✔️ |
|
ทาจิกิสถาน |
|
✔️ |
ไทย |
✔️ |
✔️ |
โตโก |
✔️ |
|
ตรินิแดดและโตเบโก |
✔️ |
|
ตูนิเซีย |
✔️ |
✔️ |
ตุรกี |
✔️ |
✔️ |
เติร์กเมนิสถาน |
|
✔️ |
ยูกันดา |
✔️ |
|
ยูเครน |
|
✔️ |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
✔️ |
✔️ |
สหราชอาณาจักร (UK) |
✔️ |
✔️ |
สหรัฐอเมริกา |
✔️ |
|
อุรุกวัย |
|
✔️ |
อุซเบกิสถาน |
|
✔️ |
นครรัฐวาติกัน |
✔️ |
|
เวเนซุเอลา |
✔️ |
|
เวียดนาม |
✔️ |
✔️ |
ซิมบับเว |
✔️ |
✔️ |
หมายเหตุ : ประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ สามารถใช้ใบขับขี่สากลแบบใดแบบหนึ่งเพียงฉบับเดียวได้ และควรนำใบขับขี่ของประเทศไทยติดตัวไปแสดงคู่กับใบขับขี่สากลด้วย และถึงแม้ใบขับขี่สากลจะมีอายุ 1 หรือ 3 ปี แต่หากใบขับขี่ไทยหมดอายุก่อนก็ถือว่าใบขับขี่สากลหมดอายุด้วยเช่นกัน
ทำใบขับขี่สากลต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
หลักฐานหรือเอกสารที่ต้องใช้ในการขอรับใบขับขี่สากล (กรณีคนไทย) ทั้ง 2 แบบ มีดังนี้
-
หนังสือเดินทาง ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
-
บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
-
ใบขับขี่ไทย ประเภท 5 ปี, ตลอดชีพ หรือขนส่ง ที่ยังไม่หมดอายุ
-
รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ไม่เคลือบมันและถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
-
มีค่าธรรมเนียมพร้อมค่าคำขอรวม 505 บาท
ส่วนกรณีคนต่างชาติก็สามารถขอรับใบขับขี่สากลในไทยทั้ง 2 แบบได้เช่นกัน โดยใช้หลักฐาน หรือเอกสาร ดังนี้
-
หนังสือเดินทางและวีซ่า (ต้องไม่ใช่เพื่อการท่องเที่ยว เล่นกีฬา หรือเดินทางผ่านเมือง) ฉบับจริงพร้อมสำเนา
-
ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ที่รับรองโดยสถานทูต หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือใบอนุญาตทำงานได้ทั้งแบบปกติและแบบดิจิทัล (Work Permit / Digital Work Permit) ที่แสดงรายละเอียด ที่อยู่ และยังไม่หมดอายุ หรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับการตรวจลงตราพิเศษ (Smart Visa) ที่รับรองโดยสถานทูต หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศออกให้ ทั้งฉบับจริงและสำเนา
-
ใบขับขี่ไทย ประเภท 5 ปี หรือตลอดชีพ ที่ยังไม่หมดอายุ ทั้งฉบับจริงและสำเนา
-
รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ไม่เคลือบมันและถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
-
มีค่าธรรมเนียมพร้อมค่าคำขอรวม 505 บาท
มอบอำนาจทำใบขับขี่สากลได้ไหม
การทำใบขับขี่สากลสามารถมอบอำนาจได้ แต่จะต้องเตรียมหลักฐานเพิ่มเติม ได้แก่
-
ใบมอบอำนาจ
-
บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ ที่ยังไม่หมดอายุ ทั้งฉบับจริงและสำเนา
-
หลักฐานของผู้มอบอำนาจสำหรับขอรับใบขับขี่สากลตามปกติ เป็นสำเนาพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
ถึงแม้การขอรับใบขับขี่สากลจะเป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถทำได้ที่กรมการขนส่งทั่วประเทศ แต่การขับรถยนต์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อท่องเที่ยวนั้น ถือว่าค่อนข้างมีความเสี่ยง เพราะกฎหมายจราจร พฤติกรรมการขับขี่ อาจแตกต่างจากไทย รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง ภาษา สภาพภูมิอากาศ แม้ประกันจะคุ้มครองค่าเสียหาย แต่กฎหมายอาจรุนแรงมากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากไม่มั่นใจควรเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะจะปลอดภัยกว่า
บทความที่เกี่ยวข้องกับใบขับขี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : dlt.go.th