ขั้นตอนทำใบขับขี่ใหม่ สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีใบขับขี่หรือใบอนุญาตขับรถมาก่อนมีวิธีการอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง สามารถอบรมออนไลน์ได้ไหม ต้องจองคิวผ่านแอปพลิเคชัน หรือไปที่กรมการขนส่งทางบกได้เลย เราหาคำตอบมาให้แล้ว

สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ ทุกคนก่อนที่จะนำรถออกมาใช้งานบนท้องถนน สิ่งหนึ่งที่ต้องมีและเตรียมให้พร้อมก็คือ ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับรถ ที่เปรียบเสมือนเอกสารสำคัญที่กรมการขนส่งทางบกออกให้กับบุคคลนั้น เพื่อแสดงว่ามีคุณสมบัติสามารถขับขี่รถสัญจรบนท้องถนนได้
โดย ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับรถ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดก็มีหลักเกณฑ์การใช้ อายุการใช้งาน รวมถึงเวลาต่อใบขับขี่แตกต่างกันด้วย

ใบอนุญาตขับขี่มีกี่ประเภท
หากแบ่งตามประเภทของใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
-
ประเภท ส่วนบุคคล (บ.) คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล จะใช้สำหรับรถในการขนส่งส่วนบุคคล รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ
-
ประเภท ทุกประเภท (ท.) คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท จะใช้สำหรับรถสาธารณะ รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง ซึ่งใบอนุญาตขับรถประเภททุกประเภทนั้น สามารถใช้ทดแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้
ใบขับขี่มีกี่ชนิด อะไรบ้าง ?
ใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถ หากแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน จะมีถึง 11 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
-
ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว
-
ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
-
ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
-
ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
-
ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ
-
ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
-
ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
-
ใบอนุญาตขับรถบดถนน
-
ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์
-
ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น
-
ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี หรือใบขับขี่สากล
ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและหลักเกณฑ์การใช้งานแต่ละประเภทได้ที่ : ข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่ประเภทต่าง ๆ

ทำใบขับขี่ใหม่ 2566 มีวิธีการและขั้นตอนอย่างไร
1. จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์
ผู้ที่จะเข้ารับบริการทำใบขับขี่ใหม่ ต่ออายุใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถทุกชนิด ต้องทำการจองคิวล่วงหน้าผ่านทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือทำการจองทางเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบก พร้อมกับบันทึกหน้าจอการจองคิวเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้แสดงกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานขนส่งในวันที่มารับบริการ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
-
บัตรประชาชนตัวจริง
-
ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน
3. ทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
-
ทดสอบการมองเห็นสี (เขียว เหลือง แดง)
-
ทดสอบสายตาทางลึก
-
ทดสอบสายตาทางกว้าง
-
ทดสอบปฏิกิริยาโดยการเหยียบเบรกหลังเห็นไฟสัญญาณ
4. เข้ารับการอบรม
ผู้ที่ทำใบขับขี่ใหม่ หรือยังไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน จะไม่สามารถเข้ารับการอบรมใบขับขี่ออนไลน์ได้ ต้องเข้ารับการอบรมใบขับขี่ที่สำนักงานเท่านั้น โดยจะใช้เวลาในการอบรมทั้งหมด 5 ชั่วโมง แบ่งออกเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย
5. ทำการสอบข้อเขียน
ทำการทดสอบข้อเขียนผ่านระบบ E-exam จำนวน 50 ข้อ โดยต้องตอบให้ถูกอย่างน้อย 45 ข้อ หากไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องมาสอบใหม่ในวันถัดไป หรือไม่เกิน 90 วัน หลังอบรม
6. ทำการสอบปฏิบัติ หรือทดสอบขับรถ
การสอบปฏิบัติหรือทดสอบขับรถนั้นส่วนใหญ่จะดำเนินการในวันถัดไป โดยสามารถนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้ามาทำการทดสอบขับรถที่สำนักงานขนส่งได้ สำหรับการทดสอบขับรถจะมีทั้งหมด 3 ท่าด้วยกัน ได้แก่
-
การจอดรถเทียบทางเท้า
-
การถอยรถเข้าซอง
-
การขับเดินหน้าและถอยหลัง
7. ถ่ายรูปทำใบขับขี่ และชำระเงิน
ในขั้นตอนนี้จะมีค่าบริการทำใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 200 บาท และค่าคำขอ 5 บาท
ทั้งนี้ ใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว จะมีอายุเพียง 2 ปีเท่านั้น เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่งสามารถดำเนินการต่ออายุใบขับขี่จาก 2 ปี เป็นแบบ 5 ปี โดยสามารถดำเนินการต่อล่วงหน้า 90 วัน สามารถจองทะเบียนรถได้ที่นี่นะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก