อธิบายขั้นตอนการสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 2563 ขั้นตอนการทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ต้องเตรียมเอกสารอะไรและสอบท่าไหนบ้าง
ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์อายุเท่าไร ?
- อายุ 15 ปี บริบูรณ์ สามารถทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 110 ซี.ซี.
- อายุ 18 ปี บริบูรณ์ สามารถทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล
- อายุ 20 ปี บริบูรณ์ สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
จองคิวเพื่อเข้ารับการอบรม
ย้ำ ! ทุกท่านจำเป็นต้องจองคิวอบรมเพื่อสอบใบขับขี่ล่วงหน้าให้เรียบร้อยก่อน ไม่เช่นนั้นอาจเสียเที่ยวได้ เนื่องจากมีคนประสงค์ขอใบขับขี่เป็นจำนวนมาก ทางกรมการขนส่งทางบกจึงได้เปิดให้จองคิวผ่านระบบอนไลน์ที่แอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue (บางแห่งบังคับใช้แบบนี้เท่านั้น) หรือจองผ่านโทรศัพท์โดยตรง สามารถกดดูวิธีการขอรับคิวเข้าอบรมใบขับขี่ที่นี้ได้เลย หรือสามารถอบรมใบขับขี่ออนไลน์ได้เลย
ขั้นตอนและวิธี จองคิวทำใบขับขี่ 2563
สอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- บัตรประชาชนตัวจริง
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
- ใบรับรองแพทย์ (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
- ใบรับรับรองการอบรม (กรณีผู้ทำการอบรมนอกกรมขนส่ง)
ทดสอบสมรรถนะร่างกาย
- ทดสอบตาบอดสี
- ทดสอบสายตาทางลึก
- ทดสอบสายตาทางกว้าง
- ทดสอบการตอบสนองของเท้า (รถจักรยานยนต์ก็ต้องทดสอบเช่นกัน)
กรมการขนส่งทางบก ได้ปรับเพิ่มชั่วโมงการอบรมสำหรับสอบใบขับขี่ใหม่จากเดิม 4 ชั่วโมง เป็น 5 ชั่วโมงแทน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ขับขี่ไม่ประมาท มีความระมัดระวังมากขึ้น และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ได้จริง
ข้อสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์
ใบขับขี่ทั้ง 2 ประเภทจะใช้ข้อสอบเหมือนกันคือ เป็นแบบปรนัยทั้งหมด 50 ข้อ มีให้เลือก ก-ง โดยต้องตอบในข้อที่ถูกต้องมากที่สุด เกณฑ์การสอบจะต้องทำให้ได้ 90 เปอร์เซ็นต์ หรืออย่างน้อย 45 คะแนนนั่นเอง
ทั้งนี้ข้อสอบใบขับขี่จะเป็นเนื้อหาใหม่ตามที่ กรมการขนส่งทางบก ประกาศเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ปรับเน้นเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและเหตุการณ์ฉุกเฉินในการขับขี่มากขึ้น ส่วนการท่องจำป้ายจราจร จะถูกลดลงเหลือแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ขั้นตอนทั้งหมดจะถูกหยุดลงและให้กลับมาสอบใหม่วันหลัง กำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 90 วัน
1. ขับขี่ตามป้ายจราจร
ให้ผู้ขับขี่เดินรถจักรยานยนต์ในเส้นทางที่กำหนด โดยจะต้องหยุดรถ ชลอความเร็ว เลี้ยวซ้าย-ขวา ตามที่ป้ายจราจรบอกอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญอย่าลืมเปิดไฟเลี้ยวด้วยทุกครั้ง หากกระทำผิดหรือฝ่าฝืนจะถือว่าสอบตกทันที
2. ขับขี่ทรงตัวบนทางแคบ
ให้ผู้ขับขี่เดินรถจักรยานยนต์ไปบนทางแคบตามระยะทางที่กำหนด โดยจะต้องทรงตัวให้ดี ห้ามนำเท้าแตะพื้นหรือใช้ความเร็วมากเกินไป
3. ขับขี่ผ่านโค้งรูปตัว Z
ให้ผู้ขับขี่เดินรถจักรยานยนต์อย่างระมัดระวังผ่านโค้งรัศมีแคบรูปตัว Z (บางที่เป็นโค้งหักศอก) โดยห้ามนำเท้าแตะพื้น
4. ขับขี่ผ่านโค้งรูปตัว S
ให้ผู้ขับขี่เดินรถจักรยานยนต์อย่างระมัดระวังผ่านโค้งซ้ายและขวารูปตัว S โดยห้ามนำเท้าแตะพื้น
5. ขับขี่ซิกแซคผ่านสิ่งกีดขวาง
ให้ผู้ขับขี่เดินรถจักรยานยนต์เลี้ยวหลบสิ่งกีดขวางตามที่กำหนด โดยห้ามนำเท้าแตะพื้น เมื่อเสร็จแล้วจะถือว่าผ่านการทดสอบทันที
ชำระค่าธรรมเนียมสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์
ชำระค่าธรรมเนียมโดยมี ค่าคำขอ 5 บาท, ค่าใบอนุญาตขับขี่จักรรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 100 บาท รวมทั้งสิ้น 105 บาท
สำหรับผู้ที่ต้องการ ต่อใบขับขี่ จะคิดค่าบริการเท่ากัน ส่วนคนที่ขาดต่อเกิน 1 - 3 ปีขึ้นไป จะต้องจองคิวเพื่อเข้ารับการอบรมและสอบปรนัยใหม่
โดยปรกติการสอบใบขับขี่จักรยานยนต์ มักจะไม่มีปัญหาเรื่องภาคปฏิบัติสักเท่าไหร่ และเพื่อความรวดเร็วก็ควรมีใบรับรองการอบรม สุดท้ายเมื่อจะสอบใบขับขี่ทั้งทีก็ควรจัดการให้ครบในครั้งเดียวทั้งใบขับขี่รถยนต์และใบขับขี่จักรยานยนต์เลยครับ