รถเบรกไม่อยู่ หรือเมื่อรถเบรกแตก หากตกอยู่ในสถานการณ์นี้ควรต้องทำอย่างไรเพื่อให้หยุดรถได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด พร้อมวิธีสังเกตสัญญาณเตือนว่าเบรกมีปัญหา
ผู้ที่ขับรถย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่าเบรกในรถยนต์นั้นใช้งานอย่างไร และเชื่อมั่นว่าเบรกนั้นจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกครั้งที่ใช้งาน ทำให้หลายคนอาจไม่ได้เตรียมตัวว่าหากระบบเบรกที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำนั้นเกิดปัญหาเบรกไม่อยู่ หรือมักเรียกกันว่ารถเบรกแตก ควรจะต้องรับมืออย่างไรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สาเหตุที่ทำให้รถเบรกไม่อยู่
-
ผ้าเบรกหมด
-
น้ำมันเบรกที่เสื่อมสภาพ
-
ผ้าเบรกร้อนเกินไปจนทำให้น้ำมันเบรกเดือดจนเบรกไม่อยู่
-
เกิดการรั่วของน้ำมันเบรกในวงจรเบรก
-
มีอากาศในวงจรเบรกจนสูญเสียแรงดัน
-
ระดับน้ำมันเบรกต่ำกว่าที่กำหนด
รถเบรกไม่อยู่ควรทำอย่างไร
-
ตั้งสติให้ดี ประเมินสถานการณ์และควบคุมรถให้ปลอดภัยที่สุด
-
ถอนคันเร่ง และไม่ควรเหยียบคันเร่งต่อเด็ดขาด
-
ค่อย ๆ ดึงเบรกมือช่วยหยุดรถอย่างนุ่มนวล หรือในรถเกียร์ธรรมดาให้ค่อย ๆ ลดเกียร์ต่ำลง
-
นำรถหลบเข้าไหล่ทางให้เร็วที่สุดเพื่อไม่ให้กีดขวางจนเกิดอุบัติเหตุ
-
เปิดสัญญาณฉุกเฉินเตือนให้รถคันอื่น ๆ มองเห็น
-
รีบขอความช่วยเหลือ และไม่ควรขับรถต่ออย่างเด็ดขาด
สัญญาณเตือนระบบเบรกมีปัญหา
-
ไฟแจ้งเตือน เช่น ไฟเตือนระดับน้ำมันเบรก ไฟเตือนผ้าเบรก หรือไฟเตือนเบรกมือ
-
เกิดเสียงผิดปกติขณะเหยียบเบรก
-
เริ่มมีน้ำมันเบรกรั่วซึม
-
เหยียบเบรกแล้วเบรกจมหรือยุบง่ายกว่าปกติ
-
รถเกิดอาการดึงไปข้างใดข้างหนึ่งเมื่อเหยียบเบรก
-
มีกลิ่นเบรกไหม้
อย่างไรก็ตาม คงไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์รถเบรกไม่อยู่อย่างแน่นอน ดังนั้น การตรวจเช็กระบบเบรกอยู่เสมอ เช่น ระดับน้ำมันเบรก สังเกตจุดรั่วซึม หรือฟังเสียงผิดปกติ จะช่วยให้เราทราบถึงปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงที
บทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน่ารู้รถยนต์
ขอบคุณข้อมูลจาก : forbes.com และ haynes.com