ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ต่อภาษีรถไฟฟ้าต้องจ่ายปีละเท่าไร

รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์พลังงานทางเลือก ต้องเสียภาษีต่อปีเท่าไร มีค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันทั่วไป มาดูกัน

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า เป็นยานพาหนะที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังลดการปล่อยมลพิษ และหลายยี่ห้อมักมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ระบบช่วยขับขี่  รวมถึงสมรรถนะที่น่าประทับใจ ที่สำคัญคือ ราคาจำหน่ายไม่ได้แพงกว่ารถยนต์น้ำมัน ทำให้หลายคนอยากลองใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องใหม่ หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วรถยนต์ไฟฟ้าคิดภาษีประจำปี หรือมีค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียนปีละเท่าไหร่ แพงหรือไม่ แตกต่างจากรถยนต์น้ำมันอย่างไร ใครที่กำลังสนใจลองไปหาคำตอบกัน 

ภาษีรถยนต์ คือ ?

ภาษีรถยนต์คือหนึ่งในค่าใช้จ่ายสำหรับรถทุกคันที่จดทะเบียนใช้งาน โดยจะต้องจ่ายเป็นรายปีนับตั้งแต่วันจดทะเบียน ดังนั้น การไม่เสียภาษีประจำปีถือว่าผิดกฎหมายทันที หากนำรถมาใช้งานบนถนน แล้วเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะต้องเสียค่าปรับ หรือหากปล่อยไว้นานเกิน 3 ปี ก็ต้องจดทะเบียนใหม่ ผู้ที่เป็นเจ้าของรถจึงจำเป็นต้องเสียภาษีรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์แต่ละชนิดต้องจ่ายภาษีเท่าไร ?

รถทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก หรือรถมอเตอร์ไซค์ ทุกคันต้องเสียภาษีประจำปีเหมือนกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันนั่นก็คืออัตราภาษีที่ต้องจ่าย เรามาดูกันว่ารถแต่ละชนิดต้องเสียภาษีคันละเท่าไร และมีวิธีคิดภาษีจากอะไร

1. ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

          ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV  ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 นั้น ได้กำหนดให้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้าเสียภาษีตามน้ำหนักของรถ ในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ดังนี้
น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน

500

150

501-750

300

751-1,000

450

1,001-1,250

800

1,251-1,500

1,000

1,501-1,750

1,300

1,751-2,000

1,600

2,001-2,500

1,900

2,501-3,000

2,200

3,001-3,500

2,400

3,501-4,000

2,600

4,001-4,500

2,800

4,501-5,000

3,000

5,001-6,000

3,200

6,001-7,000

3,400

7,001 ขึ้นไป

3,600

ทั้งนี้อัตราภาษีของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องจ่ายทุกปี ถือว่าเป็นอัตราเดียวกับที่ใช้ในรถกระบะ ซึ่งจะถูกกว่ารถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง

อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางบกได้มีการประกาศลดภาษีประจำปีรถยนต์ไฟฟ้าลงอีก 80% เป็นระยะเวลานาน 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2568 เพื่อสนับสนุนให้เปลี่ยนมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า

2. ภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถน้ำมัน)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน หรือรถเก๋งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เป็นประเภทของรถที่คนนิยมใช้มากที่สุด โดยจะมีการคิดคำนวณอัตราภาษีจากกระบอกสูบ (ซีซี)

  • 600 ซีซี แรก คิด ซีซี ละ 0.50 บาท
  • 601-1,800 ซีซี  คิด ซีซี ละ 1.50 บาท
  • 1,800 ซีซี ขึ้นไป คิด ซีซี ละ 4.00 บาท

สำหรับรถใหม่ หรือรถที่มีอายุการใช้งานอยู่ในช่วง 1-5 ปีแรก อัตราภาษีที่ต้องจ่ายจะเท่ากันทั้งหมด แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 อัตราภาษีจะลดลงตามลำดับ

  • ปีที่ 6 ร้อยละ 10
  • ปีที่ 7 ร้อยละ 20
  • ปีที่ 8 ร้อยละ 30
  • ปีที่ 9 ร้อยละ 40
  • ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

2. รถประเภทที่คิดภาษีเป็นรายคัน

จะใช้กับรถจักรยานยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ รถที่ใช้ในงานเฉพาะทาง เช่น เกษตรกรรม

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
  • รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
  • รถพ่วงชนิดอื่น ๆ คันละ 100 บาท
  • รถบดถนน คันละ 200 บาท
  • รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

3. รถประเภทที่คิดภาษีตามน้ำหนักรถ

การคิดคำนวณภาษีในลักษณะนี้จะใช้กับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน, รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด, รถยนต์รับจ้าง, รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล, รถลากจูง และรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร โดยมีอัตราภาษีดังนี้

น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด, รถยนต์บริการ รถยนต์รับจ้าง รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล, รถลากจูง, รถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร

500

150

450

185

300

501-750

300

750

310

450

751-1,000

450

1,050

450

600

1,001-1,250

800

1,350

560

750

1,251-1,500

1,000

1,650

685

900

1,501-1,750

1,300

2,100

875

1,050

1,751-2,000

1,600

2,550

1,060

1,350

2,001-2,500

1,900

3,000

1,250

1,650

2,501-3,000

2,200

3,450

1,435

1,950

3,001-3,500

2,400

3,900

1,625

2,250

3,501-4,000

2,600

4,350

1,810

2,550

4,001-4,500

2,800

4,800

2,000

2,850

4,501-5,000

3,000

5,250

2,185

3,150

5,001-6,000

3,200

5,700

2,375

3,450

6,001-7,000

3,400

6,150

2,560

3,750

7,001 ขึ้นไป

3,600 6,600 2,750 4,050

ทั้งนี้อัตราภาษีของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องจ่ายทุกปี ถือว่าเป็นอัตราเดียวกับที่ใช้ในรถกระบะ ซึ่งจะถูกกว่ารถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง

อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางบกได้มีการประกาศลดภาษีประจำปีรถยนต์ไฟฟ้าลงอีก 80% เป็นระยะเวลานาน 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2568 เพื่อสนับสนุนให้เปลี่ยนมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า

แม้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรานั้นจะอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง แต่ในอนาคตอาจมีความหลากหลายมากขึ้น หลังภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมโดยการลดภาษีสรรพสามิต ภาษีนำเข้า และภาษีประจำปี โดยในบ้านเราตอนนี้ก็มีรถยนต์ไฟฟ้าที่น่าสนใจหลายรุ่น เช่น POCCO, VOLT City EV, Fomm ONEMG ZS EV, ORA Good Cat และ BYD Atto 3 เป็นต้น

เรื่องที่เกียวข้องอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : dlt.go.thdlt.go.th (2)

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ต่อภาษีรถไฟฟ้าต้องจ่ายปีละเท่าไร อัปเดตล่าสุด 4 มกราคม 2567 เวลา 17:23:39 65,004 อ่าน
TOP
x close