น้ำมันเครื่องรถยนต์มีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร และเมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องควรเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะกับรถยนต์ของเรา
อย่างที่มทราบกันดี รถยนต์ กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางในชีวิตประจำวันด้วยหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะในแง่ของความสะดวกเป็นส่วนตัว หรือแม้แต่เพื่อประกอบอาชีพ ซึ่งแน่นอนว่าการมีรถยนต์นั้นมาพร้อมกับการบำรุงดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความสำคัญมาก
เพราะน้ำมันเครื่องต้องทำหน้าที่หล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ ลดการสึกหรอ ช่วยระบายความร้อน และมีผลอย่างมากต่อการทำงานของเครื่องยนต์ ทำต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน มีน้ำมันเครื่องให้เลือกมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป จนเกิดคำถามว่าควรใช้แบบไหนดี
วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องรถยนต์ว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และเราควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับรถยนต์ของเรามากที่สุด
น้ำมันเครื่องมีกี่ประเภท
น้ำมันเครื่องที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดและตามศูนย์บริการนั้น โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ดังนี้
- น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.
- น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.
- น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.
การเลือกใช้งานน้ำมันเครื่องแบบไหนก็ย่อมขึ้นอยู่กับงบประมาณและอาจจะดูถึงลักษณะการขับขี่ของแต่ละคน เพราะน้ำมันเครื่องแบบธรรมดาราคาย่อมถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แต่ก็อาจจะมีระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายที่เร็วกว่า นอกจากนี้น้ำมันเครื่องบางยี่ห้อยังมีการเติมสารคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเข้าไป เราก็สามารถพิจารณาเลือกจากจุดนี้ได้เช่นกัน
ความหมายของตัวเลข
บนฉลากน้ำมันเครื่อง
บนฉลากผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องรถยนต์ นอกจากชื่อยี่ห้อแล้ว จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขเขียนกำกับไว้ ซึ่งชุดตัวเลขเหล่านี้ล้วนมีความหมายที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง เราลองมาดูกันว่าตัวอักษรและตัวเลขแต่ละตัวหมายความว่าอย่างไร
"SM" คือ ค่า API (American Petroleum Institute Standard) กำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับน้ำมันเครื่องแบบสากลทั่วโลก
มาตรฐาน API หากเป็นน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินจะขึ้นต้นด้วย "S" เช่น API SM หรือ API SL ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะขึ้นต้นด้วย "C" เช่น API CJ-4 หรือ API CI-4 โดยเช็กรายละเอียดได้ที่ api.org (ยิ่งปีเก่าเท่าไร มาตรฐานก็ต่ำลง)
API SM คือ มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ให้มาตรฐานประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น ป้องกันเทอร์โบชาร์จเจอร์ เข้ากับระบบควบคุมการปล่อยไอเสียและเครื่องยนต์ที่ทำเพื่อรองรับน้ำมัน E85 ประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2010
-
API SM ประกาศใช้เมื่อปี 2010
-
API SL ประกาศใช้เมื่อปี 2004
-
API SJ ประกาศใช้เมื่อปี 2001
CK-4 คือ มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล ประกาศใช้เมื่อปี 2017
-
CJ-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2010
-
CI-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2002
-
CH-4 ประกาศใช้เมื่อปี 1998
"10W-30" คือ ค่ามาตรฐานจาก SAE (The Society of Automotive Engineer) ซึ่งเป็นสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยค่าชุดเลขตัวแรก "10W" ค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง ดังนี้
-
W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
-
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
-
10W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
-
15W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
-
20W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
ชุดเลขตัวที่สอง "30" บอกถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่มีตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 โดยตัวเลขมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยมีความหนืดน้อยตามลำดับ โดยความหนืดของน้ำมันมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกหรอได้มาก โดยความหนืดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปอยู่ที่ 20-40
ทริกที่หลายคนเลือกเปลี่ยนน้ำมันเครื่องคงเป็นเรื่องค่าความหนืด เพราะอุณหภูมิอากาศในไทยต่อให้ใช้ 20W ก็ยังไม่น่ากังวล เครื่องยนต์ใหม่ก็มักไปเริ่มกันที่ "40" และปรับให้หนืดขึ้นเมื่ออายุเครื่องยนต์เพิ่ม เพื่อให้เครื่องฟิตขึ้น
วิธีดูน้ำมันเครื่องรถยนต์
สูตรพิเศษ
น้ำมันเครื่องหลายชนิดในตอนนี้มีการบอกว่าเหมาะสมกับประเภทการใช้งาน ตัวอย่างเช่น
- For NGV, LPG & Gasoline - สามารถใช้ได้ดีกว่าสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG
- Heavy Duty - ใช้ได้ดีสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก
สรุปแล้วทั้ง 3 ข้อนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะชี้ไปว่าน้ำมันเครื่องแบบไหนเหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ เลือกใช้ได้แน่นอน ที่เหลือก็คือการพิจารณาเรื่องของราคาและยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้น้ำมันเครื่องที่ตรงกับความต้องการและคุ้มค่ามากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเครื่องรถยนต์
ขอบคุณข้อมูลจาก : gomechanic.in, thompsonsales.com, autozone.com