x close

เยาวชนไทยแจ๋ว! คว้าแชมป์รถประหยัดเชื้อเพลิงระดับเอเชีย 4 ปีรวด

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
  
          ทีมเยาวชนไทยคว้าแชมป์อีกครั้ง! ในรายการเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ถึง 3 ประเภทเชื้อเพลิง เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน

          วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทีมฮาวมัช เอทานอล (How Much Ethanol) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จในระยะทาง 2,730 กิโลเมตร ด้วยเชื้อเพลิงเอทานอลเพียงหนึ่งลิตร ถือเป็นสถิติสูงสุดในการแข่งขันของปีนี้ นอกจากนี้ยังมีทีมเพื่อน ๆ จากประเทศไทย นำโดยวิทยาลัยเทคนิคสกลนครร่วมเป็นผู้ชนะในประเภทเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน และวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ในประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า

          นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ได้กล่าวว่า "ผมรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจมากอีกครั้งที่ทีมไทยสามารถชนะการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนที่นี้ นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ และทักษะของทีมทำให้ทีมมาเป็นที่ 1 ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สี่แล้ว ความสามารถของนักเรียนนักศึกษาจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่วิศวกรรุ่นต่อไปในการตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานในอนาคตอย่างแน่นอน"

          การแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ซึ่งจัด ณ สนามแข่งลูเนต้าพาร์ค บนถนนใจกลางกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อทดสอบการประหยัดน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพการจราจรในเมืองหลวงอย่างแท้จริง

         ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในปีนี้สามารถเอาชนะทีมของนักเรียนนักศึกษาจำนวน 105 ทีม จาก 15 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมีการส่งข้อมูลของรถยนต์ทั้งรถยนต์ใช้งานได้จริง หรือประเภทรถต้นแบบของ 7 ประเภทพลังงานเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์วัดจากผู้ที่สามารถขับรถยนต์ไปได้ไกลที่สุดโดยใช้เชื้อเพลิงเทียบเท่ากับ 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงหรือเพียง 1 ลิตร

เชลล์ อีโค มาราธอน

           สรุปผลทีมที่ชนะการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2557
 
ประเภทยานยนต์ต้นแบบ ไฮโดรเจน


           - ทีมUiTM Eco-Sprint จากUniversiti Teknologi Mara (UiTM) Shah Alam ประเทศ มาเลเซีย ใช้พลังงานไฮโดรเจน 77.6 กม./กิโลวัตต์-ชม.

ประเภทยานยนต์ต้นแบบ แบตเตอรี่ไฟฟ้า      

           - ทีมวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ ประเทศไทย ใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า 263.4 กม./กิโลวัตต์-ชม.

ประเภทยานยนต์ต้นแบบ น้ำมันเบนซิน
            
           - ทีมเวอร์จิ้น (Virgin) จากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ประเทศไทย ใช้พลังงานเบนซิน 1,796.0 กม./ลิตร

ประเภทยานยนต์ต้นแบบ น้ำมันดีเซล
    
           - ทีมZeal Eco-power Diesel จากTongji University ประเทศจีน ใช้พลังงานดีเซล 616.2 กม./ลิตร

ประเภทยานยนต์ต้นแบบ เบนซินทางเลือก   
       

           - ทีมฮาวมัช เอทานอล (How Much Ethanol) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ประเทศไทย ใช้พลังงานเอทานอล 2,730.8 กม./ลิตร
  
ประเภทยานยนต์ต้นแบบ ดีเซลทางเลือก

           - ทีมTeam Monash 2 จากMonash University ประเทศมาเลเซีย ใช้พลังงาน จีทีแอล 116.6 กม./ลิตร
  
ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง ไฮโดรเจน

           - ทีมUiTM Eco-Planet จากUniversiti Teknologi Mara (UiTM) Shah Alam ประเทศมาเลเซีย ใช้พลังงานไฮโดรเจน 44.5  กม./กิโลวัตต์-ชม.
                  
ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง แบตเตอรี่ไฟฟ้า      

           - ทีมITERBO3 จากInstitute of Technical Education (ITE) ประเทศสิงคโปร์ ใช้พลังงาน แบตเตอรี่ไฟฟ้า 126.3 กม./กิโลวัตต์-ชม.

ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง น้ำมันเบนซิน

           - ทีมSadewa Otto จากUniversitas Indonesia ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พลังงานเบนซิน 301.7กม./ลิตร

ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง น้ำมันดีเซล

           - ทีมMesin Polnep Diesel Team จากPoliteknik Negeri Pontianak ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พลังงาน ดีเซล 70.3 กม./ลิตร

ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง เบนซินทางเลือก


           - ทีมHORAS MESIN จากUniversity of Sumatera Utara ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พลังงานเอทานอล 101.4 กม./ลิตร

ประเภทยานยนต์ใช้งานได้จริง ดีเซลทางเลือก

           - ทีมITS Team 2 จากInstitut Teknologi Sepuluh Nopember ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พลังงานFAME 151.4 กม./ลิตร
  
นอกจากนี้ยังมีทีมที่ได้รับรางวัลนอกสนามด้านอื่น ๆ อาทิ

           - ด้านการสื่อสาร ทีม PNEC NUST-PROTOTYPE จาก National University of Sciences and Technology (NUST), Karachi ประเทศปากีสถาน

           - การออกแบบยานยนต์ ทีม NTU DIESEL CAR RACING TEAM จาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์

           - นวัตกรรมด้านเทคนิค ทีม NANYANG E DRIVE จาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์

           - ความพยายามและความมุ่งมั่น ทีม MIT ECO-WARRIORS จาก Madras Institute of Technology ประเทศอินเดีย และ ทีม DLSU ECO CAR TEAM จาก ELECTRIC De La Salle University ประเทศ ฟิลิปปินส์

           - ความปลอดภัย ทีม NTU DIESEL CAR RACING TEAM จาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์

           - รางวัลการหล่อลื่นเชลล์ เฮลิกส์ ทีม TEAM MONASH 2 จาก Monash University, Malaysia ประเทศมาเลเซีย

           ทั้งนี้การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย มาเลเซียเป็นเจ้าภาพการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนจนถึงปี 2556 ในปี 2557 การแข่งขันกำลังจะมีขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันจนถึงปี 2559

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน

เชลล์ อีโค มาราธอน



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เยาวชนไทยแจ๋ว! คว้าแชมป์รถประหยัดเชื้อเพลิงระดับเอเชีย 4 ปีรวด อัปเดตล่าสุด 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 00:41:02
TOP