หลังจากที่รัฐบาลปิดโครงการรถคันแรกไปเมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา เชื่อว่าผู้เข้าร่วมโครงการนี้หลายคน คงเริ่มทยอยรับรถที่จองไว้กันมาบ้างแล้ว ซึ่งมือใหม่หัดจองรถทั้งหลาย อาจจะยังไม่ทราบว่า เมื่อได้รับรถครบ 1 ปี จะต้องมีการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีกันด้วย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจวิธีการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีกันครับ
เริ่มต้นนั้น ทางเจ้าของรถจะได้รับจดหมายแจ้งเตือนให้ต่อทะเบียนรถยนต์จากทางไฟแนนซ์เสียก่อน โดยระยะเวลาที่ได้จดหมายนั้น จะได้ก่อนทะเบียนหมดอายุประมาณ 60 วัน อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ผ่อนรถหมดแล้ว จะไม่มีจดหมายแจ้งเตือนมาให้ ต้องนำรถไปต่อทะเบียนเองนะครับ
1. หากรถของท่านจดทะเบียนมากกว่า 7 ปี จะต้องมีหลักฐานเพิ่มเติม คือ ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) โดยสามารถนำรถไปตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถของเอกชน ที่ได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบกได้ทันที
2. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์เป็นก๊าซ CNG/LPG จะต้องขอหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถประจำปีตัวจริง
เมื่อเตรียมหลักฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาดูกันถึงเรื่องช่องทางการต่อภาษีรถยนต์กันบ้าง ซึ่งสามารถต่อภาษีได้ที่กรมการขนส่งทุกจังหวัด โดยต้องนำหลักฐานที่ระบุไว้ไปยื่นต่อทะเบียน เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้น
- นอกจากนี้ ยังมีวิธีการต่อทะเบียนอื่น ๆ เป็นวิธีรองลงมา ได้แก่
1. การเสียภาษีแบบเลื่อนล้อ
เป็นการเสียภาษีที่หน้าอาคาร 3 ภายในกรมการขนส่งทางบก หรือ สำนักงานขนส่ง จ.เชียงใหม่, นครราชสีมา, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี และนนทบุรี ในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30-15.30 น. โดยวิธีนี้สามารถต่อทะเบียนได้โดยไม่ต้องลงจากรถ
2. ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา
มีเงื่อนไขยกเว้นรถที่มีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี โดยที่นายทะเบียนไม่ได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี อย่างไรก็ตาม จะไม่สามารถยื่นชำระได้ก่อน 3 เดือน นับตั้งแต่ครบกำหนดเสียภาษี ยกเว้นรถที่มีภาษีค้างชำระ สามารถยื่นได้ทันที
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
มีเงื่อนไขยกเว้นรถที่มีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี โดยที่นายทะเบียนไม่ได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี อย่างไรก็ตาม จะไม่สามารถยื่นชำระได้ก่อน 3 เดือน นับตั้งแต่ครบกำหนดเสียภาษี ยกเว้นรถที่มีภาษีค้างชำระ สามารถยื่นได้ทันที
4. ห้างสรรพสินค้า ( Shop Thru for Tax)
สามารถเสียภาษีได้ที่ห้างบิ๊กซี 13 สาขา คือ ลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, ศรีนครินทร์ และบางใหญ่ ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น.
5.เคาน์เตอร์เซอร์วิส (Counter Service)
สามารถจ่ายได้ที่ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา โดยหลังจากชำระภาษีเสร็จแล้ว ทางกรมการขนส่งจะส่งใบเสร็จและป้ายติดหน้ารถไปให้ภายใน 10 วัน โดยมีค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้าย 40 บาท
อ่านเพิ่มเติม: จองทะเบียนรถยนต์ วิธีจองเลขทะเบียนออนไลน์ด้วยตัวเองง่าย ๆ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ มีการต่ออายุทะเบียนรถยนต์เพิ่มอีกหนึ่งวิธี นั่นคือ การต่อทะเบียนออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่ง www.dlte-serv.in.th ซึ่งทำให้การต่อทะเบียนรถยนต์สะดวกมากขึ้น ไม่ต้องนำรถไปต่อคิวตามสถานที่ให้บริการอีกแล้ว มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สมัครสมาชิก เว็บไซต์ www.dlte-serv.in.th พร้อมกับกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ
2. จากนั้นก็ล็อกอินเข้าไป เลือก "ลงทะเบียนรถ" จากนั้นก็กรอกรายละเอียดรถให้ถูกต้อง โดยขั้นตอนนี้จะมีให้เลือกรูปแบบการจ่ายเงินที่ต้องการด้วย เช่น ตัดผ่านบัญชีธนาคาร, ตัดบัตรเครดิต, จ่ายที่เคาน์เตอร์ เป็นต้น
3. กด "ตกลง" ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เมื่อต่อทะเบียนออนไลน์เสร็จสิ้นแล้ว ทางกรมการขนส่งก็จะส่งเอกสารมาที่บ้าน นับว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะดวก และเป็นวิธีที่นิยมของคนรุ่นใหม่มากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม รถที่มียอดค้างชำระเกิน 3 ปี ไม่สามารถชำระได้ด้วยวิธีนี้ และหากใครที่ยังไม่ซื้อ พ.ร.บ. ก็สามารถซื้อได้ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์นี้ได้เช่นเดียวกัน
ทั้ง หมดนี้ ก็เป็นวิธีการต่อทะเบียนทั้งหมดของรถยนต์ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียน 1 ครั้งประมาณ 1,600 บาท ขณะที่การต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ จะมีรายละเอียดแตกต่างกับรถยนต์บ้างเล็กน้อย เช่น ต้องมีใบตรวจสภาพเมื่อใช้งานรถ 5 ปี (รถยนต์ 7 ปี), ค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียนจะถูกกว่า เป็นต้น
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก dlt.go.th เเละ dlte-serv.in.th