x close

เปิดศูนย์ R&D Toyota ประเทศไทย ยกระดับอุตสาหกรรมรถไทยสู่ระดับโลก

TMAP-EM

          เยี่ยมชมศูนย์ R&D Toyota ประเทศไทย ที่มีชื่อว่า Toyota Motor Asia Pacific - Engineer & Manufacturing (TMAP-EM) พัฒนารถยนต์ฝีมือคนไทยส่งออกทั่วโลก

TMAP-EM

          เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 โตโยต้า ประเทศไทย เปิดศูนย์ Toyota Motor Asia Pacific - Engineer & Manufacturing (TMAP-EM) หรือศูนย์ R&D ที่กลั่นผลงานล่าสุดออกมาอย่างกระบะ REVO 2015 และ Fortuner 2015 ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

          บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (Toyota Motor Asia Pacific - Engineer & Manufacturing) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า TMAP-EM สำนักงานใหญ่ของโตโยต้าประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ทำหน้าที่สนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมการผลิต และการบริหารจัดการด้านชิ้นส่วน

TMAP-EM

TMAP-EM

          TMAP-EM ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนกว่า 1.3 พันล้านบาท โดยรวมกับ โตโยต้า เทคนิคอลเซ็นเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก (TTCAP – Toyota Technical Center Asia Pacific) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย พร้อมเพิ่มบทบาทการสนับสนุนงานด้านวิศวกรรมการผลิต และการบริหารจัดการด้านชิ้นส่วน โดยมีจุดมุ่งหมายให้บริษัท ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

TMAP-EM ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?

TMAP-EM

1. ศูนย์สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (Technical Center)


          TMAP-EM เป็นศูนย์กลางการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาแห่งที่ 3 ของโตโยต้า นอกประเทศญี่ปุ่น ต่อจาก สหรัฐอเมริกา และยุโรป โดยได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ให้รับผิดชอบการสนับสนุนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ใน 11 ประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึง ทวีปอเมริกาใต้ และแอฟริกา ภายใต้สโลแกน “Challenge the dream” เพื่อพัฒนาให้เกิดการผลิตรถยนต์ที่ดียิ่งขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Ever-Better Cars) ภายใต้ 4 ขอบเขตการวิจัยหลัก

          - การวางแผนผลิตภัณฑ์ (Product Planning)
          - การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design)
          - การทดสอบและประเมินประสิทธิภาพ (Evaluation)
          - การส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ  (Localization)

          ทั้งนี้หน้าที่รับผิดชอบดังกล่าวได้ครอบคลุมถึง 5 หน่วยงาน ได้แก่ วิศวกรรมตัวถังรถยนต์และช่วงล่าง (Body & Chassis Engineering) วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) วิศวกรรมเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง (Power Train Engineering) วิศวกรรมวัสดุ (Material Engineering) และวิศวกรรมยานยนต์ (Vehicle Engineering)

TMAP-EM

          ความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนา TMAP-EM

          - การพัฒนาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ส่วนบนและการประเมินประสิทธิภาพรถยนต์  เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศในภูมิภาค เช่น ชิ้นส่วนทั้งภายนอกและภายในของรถยนต์ การออกแบบสี การทดสอบเสียง และการสั่นสะเทือนที่มีผลต่อประสิทธิภาพรถยนต์

TMAP-EM

          - ศูนย์กลางการพัฒนาพลังงานทางเลือก – การพัฒนาพลังงานทางเลือกเพื่อลูกค้าทั่วโลก โดยก่อตั้งสถานีผสมซีเอ็นจี (CNG Mixing Station) เพื่อปฏิบัติการทดสอบคุณภาพของ CNG ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ในแต่ละประเทศ เช่น เชื้อเพลิง E85 สำหรับประเทศไทย และเชื้อเพลิง E100 สำหรับประเทศบราซิล

          - การพัฒนาซอฟต์แวร์ – TMAP-EM เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ของรถยนต์โตโยต้าไฮบริด

          - การพัฒนาคุณภาพยางรถยนต์ – ร่วมพัฒนายางรถยนต์กับบริษัทผลิตยางรถยนต์ในประเทศ โดยใช้สนามทดสอบภายใน TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

          รถกระบะไฮลักซ์ Revo 2015 ความภาคภูมิใจของ TMAP-EM

          รถกระบะไฮลักซ์ ภายใต้โครงการ IMV (Innovative International Multi-purpose Vehicle) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนถึงความสามารถของวิศวกร TMAP-EM ที่มีส่วนสำคัญในการร่วมวิจัยและพัฒนา ผ่านการทดสอบในทุกสภาพถนนทุกทวีปทั่วโลกด้วยเวลากว่า 12 ปี จนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั่วโลก

          ทั้งนี้ความสำเร็จของทีมวิศวกรจาก TMAP-EM ในด้านการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารถกระบะไฮลักซ์ใหม่ ได้แก่

          - การมีส่วนในการออกแบบ (Drawing) ชิ้นส่วนถึง 40% และการทดสอบและประเมินผลสมรรถนะรถยนต์และวัสดุทั้งหมด (Vehicle and All Material Evaluation)

          - การเป็นผู้ริเริ่มในการพัฒนาเครื่องยนต์ชนิดใหม่ทั้งแบบเบนซินและดีเซล รวมถึงผลักดันให้เกิดการผลิตระบบเกียร์ 6 จังหวะแบบใหม่ ภายในประเทศไทย

TMAP-EM

2. วิศวกรรมการผลิต (Production Engineering)

          TMAP-EM เป็นศูนย์กลางวิศวกรรมการผลิตเพื่อสนับสนุนการเตรียมการผลิตรถยนต์ใน 14 ประเทศ ครอบคลุม 17 บริษัทเครือข่าย ในภูมิภาคเอเชีย โอเชียเนีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา ภายใต้วัตถุประสงค์ที่จะยกระดับความสามารถในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภูมิภาคนี้

          ทั้งนี้ TMAP-EM เป็นส่วนสำคัญในการเตรียมกระบวนการผลิตและติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการผลิตรถยนต์ นับตั้งแต่การออกแบบ การประกอบ ไปจนถึงขั้นตอนการติดตั้ง และกระบวนการทดลองการผลิต เพื่อสนับสนุนให้ภูมิภาคนี้สามารถผลิตรถยนต์ที่ดียิ่งขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Ever-Better Cars) ที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพภายใต้การดำเนินงานในด้าน

          - วิศวกรรมผลิตรถยนต์ (Vehicle Production Engineering)
          - วิศวกรรมผลิตเครื่องยนต์ (Unit Production Engineering)
          - วิศวกรรมการประกอบ (General Assembly Production Engineering)



          ความสำเร็จในด้านวิศวกรรมการผลิต TMAP-EM

          - สนับสนุนการเตรียมการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เริ่มจากโตโยต้า วีออส จนถึงรถกระบะยอดนิยม ไฮลักซ์ รีโว่ และรถยนต์ฟอร์จูนเนอร์

          - สนับสนุนการก่อตั้งโรงงานโตโยต้าในภูมิภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ที่ประเทศอินเดียอินโดนีเซีย และที่โรงงานเกตเวย์ ในประเทศไทยตามลำดับ

          - ศูนย์กลางการฝึกอบรมด้านวิศวกรรมการผลิตของพนักงานบริษัทในเครือโตโยต้ากว่า 100 คน จาก 10 ประเทศ

          - สนับสนุนความรู้ด้านความปลอดภัยแก่โรงงานในเครือ โตโยต้า รวมถึงผู้รับเหมาและผู้ส่งชิ้นส่วนรถยนต์ให้โตโยต้า

          - ส่งเสริมการยกระดับโรงงานผลิตของโตโยต้าให้เป็นโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

TMAP-EM

3. การบริหารจัดการด้านชิ้นส่วน (Purchasing)

          TMAP-EM เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านชิ้นส่วนให้กับ บริษัท โตโยต้า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงสนับสนุนการจัดการด้านชิ้นส่วนของบริษัทในเครือ ให้บรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการชิ้นส่วนของแต่ละประเทศให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพในระดับสากล รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่

TMAP-EM

          ความสำเร็จของการบริหารจัดการด้านชิ้นส่วน TMAP-EM

          - เพิ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน 1st Tier มากขึ้นถึง 10% นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550

          - สนับสนุนการเพิ่มการใช้ชิ้นส่วนในประเทศของ ไฮลักซ์ รีโว่ มากถึง 95%

          - มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการผลิตของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน ผ่านกิจกรรมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) และนวัตกรรมการผลิตอย่างมีคุณภาพ  (Monozukuri Innovation)

          - การถ่ายทอดความรู้เรื่องระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) สู่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดเล็ก ผ่านโครงการร่วมพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ (AHRDIP - Automotive Human Resource Development Institute Project) ซึ่งริเริ่มจากความร่วมมือของรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น

          - ศูนย์กลางการเรียนรู้งานจัดซื้อชิ้นส่วนของพนักงานบริษัทในเครือโตโยต้ากว่า 90 คน จาก 8 ประเทศ

หลังจากที่เข้าชมมาทุกส่วน ขอสรุปข้อมูลน่ารู้ให้ดังนี้

          - Toyota Revo 2015 ถูกออกแบบโดยวิศวกรไทยมากถึง 55%

          - ใน TMAP-EM มีห้องทดสอบเฉพาะครบทุกรูปแบบ ทั้งห้องเย็นที่ทำอุณหภูมิติดลบถึง 40 ใช้เพื่อทดสอบสตาร์ทรถในอากาศเย็น

TMAP-EM

          - ฝ่ายวัสดุมีการทดสอบอุปกรณ์ภายนอก-ภายในโดยจำลองแสงแดด เพื่อดูคุณภาพและตรวจสอบคุณภาพ, มีเครื่องเขย่าความถี่สูงทดสอบจุดบกพร่อง ที่อาจเกิดแตกหัก และส่งให้ฝ่ายออกแบบพัฒนาแก้ไขในรุ่นต่อไป

TMAP-EM

          - ภายใน TMAP-EM ยังมีการผสมก๊าซ CNG เองเพื่อใช้ทดสอบรถ

TMAP-EM

          - มีเครื่องตรวจสอบการปนเปื้อนของชิ้นส่วนอะไหล่ในเนื้อวัสดุ เพื่อไม่อะไหล่แต่ละชิ้นมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานด้วยระบบคลื่นความถี่ ตรวจสอบการปนเปื้อนถึงระดับไมครอน

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM


TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

TMAP-EM

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดศูนย์ R&D Toyota ประเทศไทย ยกระดับอุตสาหกรรมรถไทยสู่ระดับโลก อัปเดตล่าสุด 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:42:45 15,760 อ่าน
TOP