ระบบรองรับอย่างแหนบเป็นระบบรองรับที่ยังมีใช้อยู่ในรถปิกอัพอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านหลัง แต่กับการเล่นช่วงล่างยกสูบแบบวางคาน การใช้แหนบรองรับที่ด้านหน้าเป็นสิ่งที่เคยเห็นกันอยู่ แต่ข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ที่ต้องการความครบทั้งแข็งแกร่งและนุ่มนวล มันจะมีทางไหนให้มันเป็นไปได้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกลัวผิวแก้มก้นเป็นหนังไก่....
ที่ผ่านมาเราเล่นกับความแรงมาในหลายส่วน ในคราวนี้เราจะลองไปดูเรื่องราวของระบบรองรับที่เรียกได้ว่ามันเหมือนของคู่กับประเภทรถยนต์อย่างปิกอัพ นั่นก็คือ ระบบรองรับอย่างแหนบซึ่งชื่อมันอาจจะไปพ้องกับอุปกรณ์หยิบจับหนวด แต่มันมีขนาดและรายละเอียดแตกต่าง จะว่าไปมันคนละเรื่องอย่างแหนบรถยนต์ถ้าไม่ได้ทำหน้าเป็นระบบรองรับในช่วงล่วงรถยนต์แล้วละก็มันคงถูกนำไปเจียเป็นอีดาบติดหลังรถสำหรับจอมยุทธ์นั่นแหละ
สำหรับรถยนต์พื้นฐานอย่างปิกอัพที่ในปัจจุบันยังคงใช้แหนบรองรับที่ด้านหลัง ด้วยคุณสมบัติในตัววัสดุของแหนบที่มีความแข็งแรง การเคลื่อนที่ขึ้นลงอยู่ในระยะที่จำกัด และในชุดแหนบเองมันก็มีอีกหลายแผ่นที่ร่วมกันทำหน้าที่เป็นชุดที่เห็นเป็นตับ ๆ นั่นแหละการหวังความแข็งแรงจากระบบรองรับมันจึงดูว่ามีความหวังที่ง่ายกว่าความนุ่มนวล หลายคนจึงหันไปคาดหวังความนุ่มนวลจากช่วงล่างแบบคอยล์สปริงหรือสปริงขดแทน เพราะมีระยะทางและรูปแบบในการแตกแรงที่แตกต่างตามลักษณะของมัน
การหาความนุ่มนวลจากระบบรองรับอย่างแหนบมันก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี ยิ่งในตอนนี้เป็นต้นไปอะไหล่จะพรั่งพรูมาได้จากทุกที่ทั่วโลก รวมไปถึงวิธีการทั้งตามแนวทางเก่าและแนวทางใหม่ที่ได้มีการทดลองคิดค้นมาจากหลาย ๆ สำนักแต่งเองก็ตามที ล้วนเป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินฝัน
การเคลื่นที่และมุมต่างๆ ของแหนบ
การเล่นกับแหนบชุดเดิมและวิธีการเรียงแผ่นใหม่ จะเอาแหนบที่สั่งทำใหม่มาใช้หรือเอาของรถรุ่นในตระกูลใกล้เคียงมาดัดแปลงใช้มันก็มีการทำอยู่ในตอนนี้ การดัดแปลงใช้แหนบที่เป็นของรุ่นอื่นมันมองเห็นภาพไม่ยาก ส่วนการสั่งแหนบใหม่ตรงนี้มันก็คงจะใกล้เคียงกับการใช้ชุดแหนบใหม่ทั้งชุดมาทำหน้าที่ แต่นอกจากการเรียงแผ่นแหนบใหม่หรือใช้แหนบชุดใหม่ที่เหมาะสมตรงกับความต้องการในการตอบสนองมากที่สุดแล้วพวกรายละเอียดการใช้ตัวช่วยอย่าง แผ่นยางรองแผ่นแหนบ บูชยางโพลียูรีเทน หรือหูแหนบหน้ากับชุดโตงเตงหลัง มันก็มีส่วนช่วยให้การทำงานของชุดแหนบนั้นเหมาะสมขึ้นได้
ลองทำความเข้าใจว่าแหนบถูกใช้เป็นจุดยึดแหนบด้านบนสองข้างแหนบยุบยืดตัว การเคลื่อนที่ของบริเวณหูแหนบนี้ต้องมีเกิดขึ้นในลักษณะการให้ตัว ถ้ามันกลายเป็นการหลวมคลอนการเดินทางของแรงก็จะปั่นป่วนแถมเกิดเสียงดัง บูชยางที่ยืดหยุ่นตัวสูงจะช่วยเสริมในจุดนั้นให้น้อยลง หูแหนบจะไม่ขยับเขยื้อนแต่จะให้ตัวอิสระ ให้หูแหนบเคลื่อนที่ขึ้น-ลงตามการถ่ายทอดแรง
ในขณะที่แหนบยุบยืดการเสียดสีระหว่างแผ่นแหนบในตับก็จะลดลงได้ ถ้าใช้แผ่นรองแหนบคั่นระหว่างกลางเมื่อมีความสะดวกในการให้ตัวการเสียดสีน้อย การทำงานของตัวแผ่นแหนบแต่ละแผ่นก็เป็นไปอย่างอิสระไม่เกิดการง้ำกันขณะยุบยืด และลดเสียงในการทำงานได้อีกด้วย
นอกจากนี้ระยะของหูแหนบที่สามารถเปลี่ยนแปลงขยับระยะปรับเปลี่ยนมุมที่ด้านหลังได้จากจุดยึดตำแหน่งเดิม กับโตงเตงที่สามารถเพิ่มหรือลดระยะจากการออกแบบให้ตัวโตงเตงยาว หรือเป็นแบหลายจุดหมุนและยืดปรับแบบสองหรือสามชั้น ตามหลักการของการเดินทางของแรงในระยะที่มุมเปลี่ยนไป แต่ระยะที่เปลี่ยนแปลงมันก็จะถูกจำกัดด้วยตัวของมันเอง คือจะไปให้มันเพิ่มระยะเปลี่ยนมุมเกินจุดวิกฤตในระยะห่างของหูแหนบหน้าหลังเท่าเติมแต่มันก็เป็นส่วนเสริมได้
แต่ถ้าในระดับการดัดแปลงแล้ว การใช้แหนบชุดใหม่ที่เซ็ตเรียงมาเป็นชุดพร้อมกับเสริมด้วยแผ่นรองและบูชยางหูแหนบโพลียูรีเทนแล้วเพิ่มระยะจุดยึดหูแหนบหน้าหลังเสริมด้วยโตงเตงหลัง มันก็เป็นอีกวิธีที่ทำกันและยังทำอยู่ เท่าที่ควรเข้าใจนั้นก็คือนอกจากที่ตัวแหนบแล้ว การที่จะทำให้เกิดการตอบสนองอย่างที่ต้องการ การเซ็ตโช้คอัพที่ทำงานร่วมกันนั่นแหละจะเป็นเรื่องหลักเลย อย่าลืมว่าในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรถยนต์ในระบบไหน ๆ ก็ตาม ต้องทำแบบส่งเสริมเพิ่มการทำงานให้มันทำงานได้เต็มที่และเหมาะสมขึ้นจึงจะเป็นแนวทางการตกแต่งที่ยั่งยืนกว่าในการใช้งานจริง....
การเทียบหาชุดแหนบแผ่นรองรับมาแทนในชุดเดิม
แหนบแบบสั่งทำ
โตงเตงเอาไว้รัดตับแหนบ
แผ่นรองแหนบ บูชยาง โตงเตงแผ่นประกบ
บางครั้งอาจต้องกลึงบูชหูแหนบสำหรับขนาดที่สร้างมา
ใช้บูชยางโพลียูรีเทนที่หูแหนบ
แบบตรงรุ่นสำเร็จรูป
ชุดแหนบรองรับที่เอาไปใช้ได้แบบครบชุด
โตงเตงสองชั้นช่วยการให้ตัว
หูแหนบกับบูชเฉพาะสำเร็จรูป
เช็คโช๊คอัพในการทำงานร่วมกันเกับแหนบ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ OFF ROAD
ปีที่ 18 ฉบับ 221 กันยายน 2556
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก OFF ROAD และ wikipedia