x close

ต่อภาษีรถยนต์ 2567 ทำได้กี่ช่องทาง มีที่ไหนบ้าง ?

          ต่อภาษีรถยนต์ 2567 สามารถดำเนินการเสียภาษีที่ไหนหรือมีช่องทางใดให้เลือกบ้าง วันหยุดราชการทำได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไร มีเอกสารอะไรที่ต้องเตรียม ไปหาคำตอบกัน

ต่อภาษีรถยนต์ 2565

การต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่จะต้องรับผิดชอบในการชำระภาษีเป็นประจำทุกปี ซึ่งสามารถเลือกดำเนินการได้หลายวิธี แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าปัจจุบันมีทั้งหมดกี่ช่องทาง หรือชำระได้ที่ไหนบ้าง รวมถึงขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ต้องทำอย่างไร ลองไปเลือกช่องทางที่สะดวกและเหมาะสมที่สุดกันได้เลย

1. ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

          การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์กรณีรถยนต์อายุเกิน 7 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพรถที่ ตรอ. หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนเสียก่อน ส่วนรถที่อายุไม่เกิน 7 ปี สามารถดำเนินการได้เลย โดยการต่อภาษีรถออนไลน์ จะมี 2 วิธี ได้แก่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก eservice.dlt.go.th หรือ ผ่านทางแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax บนสมาร์ตโฟน (สำหรับช่องทางแอปพลิเคชันรถเก่าอายุเกิน 7 ปี ไม่สามารถทำได้) โดยการยื่นต่อภาษีรถออนไลน์สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน

  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์

  • อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้ารถเกิน 7 ปี ต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน)

  • รถจักรยานยนต์ อายุรถไม่เกิน 5 ปี (ถ้ารถเกิน 5 ปี ต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน)

  • รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี

  • รถยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด

  • รถทุกจังหวัดที่มีสถานะทะเบียนปกติ หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี

  • รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี/ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ

  • รถที่ไม่ถูกอายัด

เอกสารและหลักฐานที่ประกอบการยื่นเสียภาษี
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา (ถ่ายเป็นไฟล์รูป)

  • หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ (ถ่ายเป็นไฟล์รูป)

  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ (ถ่ายเป็นไฟล์รูป)

  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) (สำหรับรถที่เกิน 7 ปี ต้องได้รับการตรวจ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังกรมขนส่งในทันทีหลังจากการตรวจผ่านเกณฑ์)

  • กรณีที่ใช้รถที่ติดตั้งก๊าซธรรมชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถ (ถ่ายเป็นไฟล์รูป)

2. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

การต่อภาษีรถยนต์สามารถเข้าไปชำระเสียภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ไม่ว่ารถของเราจะจดป้ายทะเบียนที่จังหวัดไหนก็สามารถต่อภาษีได้ทุกที่ โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะมีให้บริการถึง 5 พื้นที่ ได้แก่ 

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1

- ตั้งอยู่เลขที่ 1005 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 

- โทร. 0-2415-7337 รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขตบางขุนเทียน บางคอแหลม จอมทอง ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ คลองสาน สาทร ทุ่งครุ บางบอน และยานนาวา

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2

- ตั้งอยู่เลขที่ 51 ถนนสวนผัก แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170

- โทร. 0-2882-1620-35 รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขตตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม พระนคร บางแค และทวีวัฒนา

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3

- ตั้งอยู่ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1 เลขที่ 2479 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260

- โทร. 0-2332-9688-91 รับผิดชอบในเขตพื้นที่เขตพระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย บางนา วัฒนา และบางจาก

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4

- ตั้งอยู่เลขที่ 34 หมู่ 6 ถนนร่วมพัฒนา แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 โทร. 0-2543-5500-2 รับผิดชอบในเขตพื้นที่เขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม สะพานสูง คันนายาว และคลองสามวา

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 (กรมการขนส่งทางบก) 

- ตั้งอยู่เลขที่ 1032 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 

- โทร. 0-2272-3100 รับผิดชอบในเขตพื้นที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน ดุสิต บางซื่อ บางเขน ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว สายไหม สัมพันธวงศ์ บางรัก พญาไท ห้วยขวาง บางกะปิ ดอนเมือง ราชเทวี หลักสี่ และวังทองหลวง

นอกจากนี้ที่สำนักงานขนส่งยังมีบริการชำระภาษีรถให้เลือกใช้บริการเพิ่มอีก 2 ช่องทาง ได้แก่ 

  • เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) เป็นบริการการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องลงจากรถให้เสียเวลา ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30-18.00 น. โดยจะต้องเตรียมสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสำเนา, พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ และใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี)

  • ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) ผู้จ่ายภาษีรถสามารถเลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีทางไปรษณีย์ หรือพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีได้ที่ ตู้คีออส (Kiosk) ซึ่งสามารถดำเนินการเองทุกขั้นตอน ไม่ต้องติดต่อเจ้าหน้ากรมการขนส่งทางบก ซึ่งมีเงื่อนไขโดยจะต้องเป็นรถดังนี้

    • รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

    • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้)

    • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี 

    • รถจักรยานยนต์มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก 

    • รถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี ไม่ถูกอายัดทะเบียน 

    • ไม่ใช่รถที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ 

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

ต่อภาษีรถยนต์ 2565

ภาพจาก : shutterstock.com / Nattaro Ohe

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 

  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 

  • รถจักรยานยนต์ 

  • รถแทรกเตอร์ 

  • รถบดถนน 

  • รถพ่วง

เอกสารและหลักฐานที่ประกอบการยื่นเสียภาษี 

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริง หรือสำเนา

  • เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ

  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

วัน/เวลาให้บริการ

  • วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. 

3. ที่ทำการไปรษณีย์

ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งสามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ แต่จะไม่ครบทุกสาขา ควรติดต่อก่อนดำเนินการ โดยจะต้องเตรียมเอกสารมาให้ครบถ้วน ทั้ง สมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริง (รถที่ยังผ่อนไม่หมดไม่สามารถมาต่อที่ไปรษณีย์ได้), พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ รวมถึงใบรับรองการตรวจสภาพรถสำหรับรถเก่าที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป แต่จะเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ 40 บาท สำหรับป้ายเสียภาษีใหม่จะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่ผู้ต่อภาษีระบุไว้ภายหลัง

ต่อภาษีรถยนต์ 2565

ภาพจาก : shutterstock.com / daykung

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 

  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 

  • รถจักรยานยนต์ 

  • รถแทรกเตอร์ 

  • รถบดถนน 

  • รถพ่วง 

เอกสารและหลักฐานที่ประกอบการยื่นเสียภาษี 

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริง (เท่านั้น)

  • เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ

  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

วัน/เวลาให้บริการ

  • วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น.

  • วันเสาร์/วันอาทิตย์/วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย เวลา 09.00 - 17.00 น.

4. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"

สำหรับการยื่นต่อภาษีที่ห้างสรรพสินค้าในโครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)" จะอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้บริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เวลา 11.00 - 18.00 น. 

  • ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต เวลา 11.00-18.00 น.

  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 15.00 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 

  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 

  • รถจักรยานยนต์ 

เอกสารและหลักฐานที่ประกอบการยื่นเสียภาษี 

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา

  • เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ

  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

ต่อภาษีรถยนต์ 2565

ภาพจาก : shutterstock.com / RosaLin Zhen Zhen

5. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

อีกหนึ่งช่องทางที่สะดวกสำหรับการยื่นต่อภาษีรถยนต์ประจำปี โดยรถที่จะสามารถยื่นจ่ายช่องทางนี้ได้จะต้องเป็นรถใหม่เท่านั้น โดยเป็นรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 5 ปี ส่วนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ทางไปรษณีย์จะส่งตามชื่อที่อยู่ ที่ถูกระบุไว้ภายในเวลา 10 วัน นับจากวันที่ชำระเงิน โดยจะมีค่าธรรมเนียมการให้บริการ 20 บาท ต่อ 1 รายการ พร้อมค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์อีก 40 บาท ต่อรถ 1 คัน

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์ที่จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี

  • รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี

เอกสารและหลักฐานประกอบการยื่นเสียภาษี 

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา

  • หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ 

  • บัตรประชาชนตัวจริง (เจ้าของรถ)

  • กรณีที่ใช้รถที่ติดตั้งก๊าซธรรมชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถ

วัน/เวลาให้บริการ

  • เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.30-15.30 น.

6. ผ่านแอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet

สำหรับผู้ที่ยื่นต่อภาษีผ่าน mPay และ TrueMoney Wallet ขั้นแรกให้เลือกเมนู Pay Bill เลือกจ่ายบิลกรมขนส่งทางบก กรอกรายละเอียดข้อมูลของตัวรถยนต์พร้อมข้อมูล พ.ร.บ. รวมทั้งข้อมูลผู้เสียภาษี ให้ครบถ้วน และตรวจสอบยอดชำระค่าภาษีรถยนต์ กรอกชื่อ ที่อยู่ สำหรับส่งเอกสาร แล้วทำการชำระเงิน ซึ่งเอกสารและงเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรือป้ายวงกลม จะถูกส่งภายใน 5 - 7 วัน โดยรถที่จะสามารถยื่นต่อภาษีผ่านแอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet จะต้องเป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี ไม่ถูกอายัดทะเบียน ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซ และไม่ได้ดัดแปลงหรือแต่งรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ 

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี 

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี 

  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี 

  • มอเตอร์ไซค์ ที่จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี

เอกสารและหลักฐานที่ประกอบการยื่นเสียภาษี 

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา (ถ่ายเป็นไฟล์รูป) 

  • หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ  (ถ่ายเป็นไฟล์รูป)

  • บัตรประชาชนตัวจริงเจ้าของรถ (ถ่ายเป็นไฟล์รูป)

ต่อภาษีรถยนต์ 2565

ภาพจาก : shutterstock.com / RosaLin Zhen Zhen

7. ร้านรับบริการต่อภาษี

          หากใครไม่มีเวลาหรือขี้เกียจไปดำเนินการเอง สามารถเลือกใช้บริการร้านรับต่อภาษีรถยนต์เอกชนได้เลย โดยบางแห่งจะมีบริการตรวจสภาพรถ ตรอ. รับต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ให้เลย แค่ขับรถที่ต้องต่อภาษีไป พร้อมเล่มทะเบียน แต่จะเสียค่าบริการสำหรับทางร้านแยกต่างหาก ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คิดตามอัตราปกติ

ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไหร่ ?

สำหรับรถยนต์แต่ละประเภทนั้น มีกำหนดอัตราค่าภาษี และวิธีจัดเก็บ คำนวณภาษีแตกต่างกันไป ดังนี้ 

1. จัดเก็บภาษีตามจำนวน ซีซี 

ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยมีอัตรา ดังนี้

  • 600 ซีซี แรก คิด ซีซี ละ 0.50 บาท
  • 601-1,800 ซีซี คิดเพิ่ม ซีซี ละ 1.50 บาท
  • เกิน 1,800 ซีซี คิดเพิ่ม ซีซี ละ 4.00 บาท

ทั้งนี้ หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ให้จัดเก็บในอัตราสองเท่า นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้

  • ปีที่ 6 ร้อยละ 10
  • ปีที่ 7 ร้อยละ 20
  • ปีที่ 8 ร้อยละ 30
  • ปีที่ 9 ร้อยละ 40
  • ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

2. จัดเก็บเป็นรายคัน

2.1. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท

2.2. รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท

2.3. รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท

2.4. รถพ่วงนอกจากข้อ 2.3 คันละ 100 บาท

2.5. รถบดถนน คันละ 200 บาท

2.6. รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

หมายเหตุ ปัจจุบันรถจักรยานยนต์สาธารณะกรมการขนส่งทางบกได้ปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีลง 90% เพื่อเป็นช่วยเหลือค่าครองชีพ ทำให้เหลือจ่ายภาษีเพียงคันละ 10 บาท ไปจนจึงวันที่ 30 กันยายน 2566

3. จัดเก็บตามน้ำหนัก

น้ำหนัก (กิโลกรัม)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน

รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ

รถยนต์รับจ้าง

รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรถลากจูงรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร

ไม่เกิน 500

150

150

185

300

501-750

300

750

310

450

751-1,000

450

1,050

450

600

1,001-1,250

800

1,350

560

750

1,251-1,500

1,000

1,650

685

900

1,501-1,750

1,300

2,100

875

875

1,751-2,000

1,600

2,550

1,060

1,350

2,001-2,500

1,900

3,000

1,250

1,650

2,501-3,000

2,200

3,450

1,435

1,950

3,001-3,500

2,400

3,900

1,625

2,250

3,501-4,000

2,600

4,350

1,810

2,550

4,001-4,500

2,800

4,800

2,000

2,850

4,501-5,000

3,000

5,250

2,185

3,150

5,001-6,000

3,200

5,700

2,375

3,450

6,001-7,000

3,400

6,150

2,560

3,750

7,001 ขึ้นไป

3,600

3,600

2,750

4,050

4. รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า

4.1. สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือ 600 บาท

4.2. รถอื่นนอกจาก 4.1 ให้เก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของรถตามข้อ 2 และ 3 โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ต่อภาษีรถไฟฟ้าต้องจ่ายปีละเท่าไร

ต่อภาษีรถยนต์ 2565

ทั้งหมดนี้คือช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี 2567 ที่ต่อได้ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รวมทั้งต่อภาษีในวันเสาร์-อาทิตย์ ได้ด้วย ส่วนใครที่ดำเนินการต่อภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถนำเล่มทะเบียนไปอัปเดตการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ต่อภาษีรถยนต์ 2567 ทำได้กี่ช่องทาง มีที่ไหนบ้าง ? อัปเดตล่าสุด 5 มกราคม 2567 เวลา 11:46:37 295,138 อ่าน
TOP