สัปดาห์ที่แล้ว kapook.com ได้รับเชิญไปดูโรงงานที่ไต้หวัน ทราบก่อนไปว่าเป็นโรงงานแบตเตอรี่ แต่ยังไม่มีรายละเอียดมากนัก มีกระซิบนิดหน่อยว่ามีของเด็ดให้ดู
โรงงานแบตเตอรี่ที่ไปดู คือ โรงงานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า, มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ในมือถือ กล้องถ่ายรูป นั่นแหละครับ ซึ่งค่ายรถต่าง ๆ เร่งพัฒนาเพื่อนำมาขับเคลื่อนรถไฟฟ้า EV ซึ่งเปิดตัวกันมาหลายรุ่นให้เห็นกันบ้างแล้ว
ผู้ผลิตพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก เช่น ไบโอดีเซล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมในการผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงลงทุนกว่า 25,000 ล้านบาท ในการวิจัย พัฒนา และผลิตรถยนต์ไฟฟ้า MINE Mobility
ซึ่งเปิดตัวไปแล้ว 3 รุ่น ที่สามารถทำยอดจอง รถยนต์ไฟฟ้าอเนกประสงค์ MINE รุ่น SPA 1 ทะลุเป้าถึง 4,558 คัน อีกทั้งเตรียมเปิดตัวรถยนต์นั่งระดับซับคอมแพกต์ คือ รุ่นซิตีคาร์ 4 ประตู ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท อีกด้วย
ติดตั้ง Charging Station ในชื่อ EA Anyware หรือสถานีชาร์จไฟฟ้าไปแล้วประมาณ 200 สถานีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัดในบางจุด โดยทาง EA ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะติดตั้งหัวชาร์จรวม 1,000 สถานีทั่วไทย
ภายนอกจะดูเก่าแล้วก็จริง แต่ข้างในอัดแน่นไปด้วยเครื่องจักรในการผลิตเซลล์ของแบตเตอรี่ ความแตกต่าง คือ ที่นี่ออกแบบเครื่องจักรที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่เอง
ผู้บริหารไฟแรง ที่ไม่ใช่แค่ทำการใหญ่ แต่ลงลึก ศึกษารายละเอียดทุกขั้นตอน ตอบคำถามและให้เหตุผลได้ทั้งหมด จนเราทึ่ง
เพราะโรงงานนี้วิจัยและผลิตเครื่องจักร เพื่อผลิตแบตเตอรี่เอง !
ไม่ได้เป็นแบบซื้อเครื่องจักรแล้วมาผลิตแบตเตอรี่ขายแบบโรงงานทั่ว ๆ ไปนะครับ เพราะเมื่อเข้าไปในโรงงานจะเห็นเครื่องจักรที่ผลิตแบตเตอรี่ตั้งแต่รุ่นแรก ๆ ให้ความรู้สึกเหมือนเห็นชุดไอรอนแมน ตั้งแต่ Mark I, Mark II ตามพัฒนาการความเจ๋งขึ้นเรื่อย ๆ จนมีความรู้ความชำนาญในการผลิตอย่างถ่องแท้ โดยเซลล์ของแบตเตอรี่ที่ผลิตได้นั้น มีทั้งความจุสูง ขนาดเล็ก ชาร์จเร็ว อายุการใช้งานยาวนาน (ขออภัยด้านภาพในโรงงาน เนื่องในกระบวนการผลิตไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพครับ) และที่สำคัญด้านความปลอดภัยของแบตเตอรี่
และที่จะกล่าวถึงพระเอกของงานนี้ ที่เรียกว่า “สโตบา” (Stoba) ครับ
Stoba เป็นวัสดุพอลิเมอร์ระดับนาโนที่เติมลงในแบตเตอรี่ลิเธียมเพื่อเป็นแผ่นฟิล์มนั้น ป้องกันการลัดวงจร เมื่อเกิดความร้อนขึ้นข้างในแบตเตอรี่ โดย Stoba จะปิดกั้นไอออนทั้งบวกและลบ ที่เกิดความไม่เสถียรหรือจะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้น จนเข้าสู่สภาวะปกติ เรียกว่าเป็นส่วนผสมที่บล็อกในระดับนาโนทันทีที่ภายในแบตเตอรี่เกิดความร้อนขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้หรือครับ ก็คือเราจะได้แบตเตอรี่ที่ความปลอดภัยสูงมาก
ซึ่งสารที่เรียกว่า Stoba (Self-Terminated Oligomers with hyper-Branched Architecture) นี้เกิดจากผลงานวิจัยของสถาบัน ITRI (Industrial Technology Research Institute of Taiwan) ที่ได้รับรางวัลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีระดับโลกมาแล้วมากมาย
มองภาพออกไหมครับ สถาบันวิจัยด้านเทคโนโลยีคิดได้ จดสิทธิบัตร และทำ MOU ข้อตกลงให้โรงงาน Amita ผลิตแบตเตอรี่ผสม Stoba ในเชิงอุตสาหกรรมได้สำเร็จ และทางบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ ก็ซื้อกิจการโรงงาน Amita เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ EA ประเทศไทย
นักวิชาการที่สถาบันนี้ เป็นทั้งวิศวกร นักวิจัย ที่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากรัฐบาล และเอกชนที่จะสามารถนำผลงานที่วิจัยได้ ไปผลิตขายในเชิงพาณิชย์ และก่อเกิดประโยชน์ในวงกว้างได้ต่อไป
ไหน ๆ มาแล้ว ลองขี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าดูซะหน่อย ทั้งเรียบ นิ่ง เงียบ แต่เร็วได้ไม่มาก เวลาจะชาร์จก็แตะบัตรให้เครื่องรู้ว่าเราจะชาร์จ แล้วเข็นเอาล้อหน้าเสียบเข้าไป ระบบจะล็อกล้อไว้เลย ไฟเต็มแล้วจะบอก แตะบัตรอีกทีถึงจะปลดล็อกออกมาขี่ได้
นี่เหตุผลที่ทาง EA หรือบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ ต้องการลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดยักษ์ในประเทศไทย ที่มีกำลังการผลิตกว่า 50 กิกะวัตต์ และลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์ของ Amita Technology จากไต้หวัน ที่จะทำให้ EA สามารถ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจแบตเตอรี่ลิเธียมของภูมิภาคอาเซียนได้