เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 เปิดตัวแผน อัลลายแอนซ์ 2022 (Alliance 2022) แผนดำเนินงานระยะ 6 ปีที่กำหนดเป้าหมายใหม่ในการผนึกกำลังการลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 1 หมื่นล้านยูโรเมื่อสิ้นสุดแผนดำเนินงานนี้
นายคาร์ลอส กอส์น ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มอัลลายแอนซ์ กล่าวว่า "วันนี้เราได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้แก่บริษัทในเครือของเรา เราวางเป้าหมายเพิ่มการผนึกกำลังการลงทุนให้สูงขึ้นเท่าตัวเป็น 1 หมื่นล้านยูโรเมื่อสิ้นสุดแผนยุทธศาสตร์อัลลายแอนซ์ 2022
เพื่อก้าวสู่เป้าหมายดังกล่าว เรโนลต์ นิสสัน และมิตซูบิชิ มอเตอร์ส จะเร่งสร้างความร่วมมือเพื่อใช้แพลตฟอร์มและระบบขับเคลื่อนร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปันเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า ระบบขับขี่อัตโนมัติและการเชื่อมต่อรุ่นใหม่ร่วมกันด้วย
ขณะเดียวกัน การผนึกกำลังจะถูกยกระดับด้วยขนาดธุรกิจของเราที่เติบโตมากขึ้น คาดว่ายอดขายรวมต่อปีของเราว่าจะเกินกว่า 14 ล้านคันและสร้างรายได้คาดการณ์ที่ 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐเมื่อสิ้นสุดแผนดำเนินงานนี้"
ภายใต้แผน "อัลลายแอนซ์ 2022" บริษัทในเครือจะเพิ่มสัดส่วนการใช้แพลตฟอร์มร่วมกัน โดยรถยนต์ 9 ล้านคันจะถูกพัฒนาบน 4 แพลตฟอร์มร่วมกัน แผนการนี้ยังจะขยายให้ครอบคลุมการใช้ระบบขับเคลื่อนในรถยนต์ร่วมกันให้มีสัดส่วนถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายทั้งหมด
อัลลายแอนซ์ 2022 ยังมีแผนขยายการแบ่งปันเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าครั้งใหญ่ พร้อมกับการพัฒนาและติดตั้งใช้งานระบบขับขี่อัตโนมัติที่ก้าวหน้า การเชื่อมต่อยานยนต์ และบริการด้านการขับเคลื่อนรูปแบบใหม่
รถยนต์ที่ปราศจากมลพิษ 12 รุ่นใหม่จะได้รับการเปิดตัวภายในปี พ.ศ. 2565โดยใช้แพลตฟอร์มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและชิ้นส่วนร่วมกันสำหรับหลายเซกเมนต์ ภายในช่วงเวลาเดียวกันนี้จะมีการเปิดตัวรถยนต์ 40 รุ่นที่มาพร้อมระบบขับขี่อัตโนมัติที่มีระดับแตกต่างกันไปจนถึงรถยนต์ที่มีศักยภาพขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ การก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการรถยนต์ร่วมโดยสารแบบไร้คนขับคือส่วนสำคัญของกลยุทธ์การบริการ ด้านการขับเคลื่อนรูปแบบใหม่
วันนี้ยังมีการเปิดตัวโลโก้และระบบออนไลน์ใหม่ของกลุ่มอัลลายแลนซ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการหลอมรวมและความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างบริษัทในเครือ นายกอส์นกล่าวสรุปว่า
"แผนการนี้จะกระตุ้นการเติบโตและความสามารถในการสร้างผลกำไรของบริษัทในเครือของเรา เราต้องการสร้างการผนึกกำลังกันที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยบริษัทเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติสามแห่งทำงานร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียว อัลลายแอนซ์ได้เติบโตและแสดงศักยภาพด้วยสองบริษัทในเครือมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 แต่ด้วยแผนธุรกิจ อัลลายแอนซ์ 2022 เราจะพิสูจน์ให้เห็นว่าเราจะเติบโตต่อไปและสร้างผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมด้วยสามบริษัทหรือมากกว่า"
การพัฒนาในอนาคตมีดังนี้
- ในปี พ.ศ. 2565 รถยนต์มากกว่า 9 ล้านคันจะผลิตบน 4 แพลตฟอร์มร่วมกัน เพิ่มขึ้นจากรถยนต์ 2 ล้านคันที่ผลิตบน 2 แพลตฟอร์มในปี พ.ศ. 2559
- เมื่อสิ้นสุดแผนการนี้ บริษัทในเครือจะแบ่งปันเครื่องยนต์ 22 รุ่นจากทั้งหมด 31 รุ่น เทียบกับการแบ่งปันใช้เครื่องยนต์ 14 รุ่นจากทั้งหมด 38 รุ่นในปี พ.ศ. 2559
- กลยุทธ์การใช้แพลตฟอร์มร่วมกันบนพื้นฐานโครงสร้าง CMF จะถูกขยายให้ครอบคลุมแพลตฟอร์มร่วมของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มาพร้อมศักยภาพการขับขี่อัตโนมัติที่ก้าวล้ำ และขยายสู่การใช้แพลตฟอร์มบีเซกเมนต์รุ่นใหม่ร่วมกับรถยนต์ขนาดกลาง
- มิตซูบิชิ มอเตอร์ส จะสามารถเข้าถึงโครงสร้าง CMF และใช้ระบบขับเคลื่อนร่วมกันภายในปี พ.ศ. 2563
การขยายโครงสร้าง Common Module Family เป็นการต่อยอดความสำเร็จของการแบ่งปันโครงสร้างรถยนต์ร่วมกันระหว่างเรโนลต์และนิสสันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้แพลตฟอร์มและระบบขับเคลื่อนร่วมกันในรถยนต์หลายกลุ่มอย่างกว้างขวาง ทั้งนิสสัน โรก แคชไคล์ และเอ็กซ์เทรล เรโนลต์ เอสเปซ คัดจาร์ และเมแกน รวมถึงเรโนลต์ ควิด และดัทสัน เรดิ-โก
องค์ประกอบเทคโนโลยีของอัลลายแอนซ์ 2022
องค์ประกอบเทคโนโลยีที่มีอยู่จะช่วยส่งเสริมการผนึกกำลังกันด้วยการหลีกเลี่ยงการพัฒนาที่ซ้ำซ้อนและทำให้บริษัทในเครือสามารถเข้าถึงนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1. ตอกย้ำความเป็นผู้นำรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
ในฐานะผู้บุกเบิกที่แท้จริงและผู้นำยอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าระดับโลก เป้าหมายยังอยู่ที่การเป็นอันดับหนึ่งของผู้นำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากระแสหลักสำหรับตลาดวงกว้างและเข้าถึงได้ง่ายทั่วโลก โดยภายในปี พ.ศ. 2565 บริษัทในเครือจะสามารถขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้อย่างมากเพื่อให้ครอบคลุมทุกเซกเมนต์หลักในตลาดที่มีความสำคัญทั้งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป
องค์ประกอบเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าจะรวมถึง
- แพลตฟอร์มร่วมของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นสำหรับหลายเซกเมนต์ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยคาดการณ์ว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะผลิตบนแพลตฟอร์มเดียวกันภายในปี พ.ศ. 2565
- แบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเปิดตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 และแบ่งปันใช้งานโดยทุกบริษัทในเครือ
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 12 รุ่นใหม่จะเปิดตัวภายในปี พ.ศ. 2565
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีระยะทางขับเคลื่อนมากกว่า 600 กม. ตามหลักเกณฑ์การทดสอบและอนุมัติของยุโรปหรือเอ็นอีดีซี (NEDC) จะเปิดตัวภายในปี พ.ศ. 2565
- ต้นทุนแบตเตอรี่จะลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง 2565
- ภายในปี พ.ศ. 2565 การชาร์จไฟระยะเวลา 15 นาทีจะมอบระยะทางขับเคลื่อน 230 กม. ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 90 กม. ในปี พ.ศ. 2559 ตามหลักเกณฑ์การทดสอบและอนุมัติของยุโรปหรือเอ็นอีดีซี (NEDC)
- แบตเตอรี่ที่มีลักษณะแบนราบและมีประสิทธิภาพสูงช่วยเพิ่มพื้นที่ในห้องโดยสารและสร้างความยืดหยุ่นด้านการออกแบบมากขึ้น
เริ่มใช้เทคโนโลยีปลั๊กอินไฮบริดรุ่นใหม่ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้เป็นโซลูชั่นปลั๊กอินไฮบริดร่วมกันของรถยนต์ซีและดีเซกเมนต์ภายในปี พ.ศ. 2565
บริษัทในเครือวางแผนเปิดตัวรถยนต์ 40 รุ่นที่มาพร้อมระบบขับขี่อัตโนมัติ (AD) ที่มีระดับแตกต่างกันภายในปี พ.ศ. 2565
ปัจจุบันมีการดำเนินโครงการทดสอบมากมายในหลายภูมิภาคทั่วโลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทในเครือสามารถติดตั้งระบบขับขี่อัตโนมัติที่ก้าวล้ำหน้าไว้ในรถยนต์กระแสหลักที่ออกทำตลาดในวงกว้าง โดยมีกรอบเวลาดังนี้
การใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติจะประกอบด้วย
- พ.ศ. 2561 รถยนต์ที่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติขั้นสูงสำหรับการใช้งานบนถนนไฮเวย์ – มนุษย์ผู้ขับขี่คอยตรวจสอบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
- พ.ศ. 2565 รถยนต์ที่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติขั้นสูงสำหรับการใช้งานในเมือง – มนุษย์ผู้ขับขี่คอยตรวจสอบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
- พ.ศ. 2565 รถยนต์ที่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติขั้นสูงสำหรับการใช้งานบนถนนไฮเวย์ – มนุษย์ผู้ขับขี่ตรวจสอบสถานการณ์เป็นครั้งคราว
- พ.ศ. 2565 รถยนต์ที่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบคันแรก – ไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์ผู้ขับขี่คอยตรวจสอบสถานการณ์
รถยนต์ไร้คนขับถูกทดสอบการใช้งานจริงอย่างต่อเนื่องร่วมกับหุ้นส่วนอย่างเดน่า (DeNA) จากญี่ปุ่น และทรานส์เดฟ (Transdev) จากฝรั่งเศส ซึ่งจะปูทางสู่ยุคใหม่ของการขับเคลื่อนที่เป็นเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรที่จะก้าวเป็น
- ผู้ให้บริการหลักของการบริการรถยนต์ร่วมโดยสารแบบไร้คนขับ ซึ่งจะมีหุ้นส่วนเพิ่มเติมในอนาคต
- เป็นผู้นำการดำเนินการและให้บริการรถยนต์เพื่อการขนส่งสาธารณะและรถยนต์โดยสารร่วมกัน
3. สนับสนุนการเชื่อมต่อและบริการด้านการขับเคลื่อน
ทีมงานกลุ่มพันธมิตรยานยนต์เชื่อมต่อและการบริการด้านการขับเคลื่อน (Alliance Connected Vehicles and Mobility Services) กำลังพัฒนาบริการด้านการขับเคลื่อนรูปแบบใหม่และแสวงหาความร่วมมือ นอกจากนี้ โซลูชั่นการเชื่อมต่อรุ่นใหม่เพื่อผู้บริโภคจะพร้อมให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ครอบคลุมดังนี้
- ระบบอินโฟเทนเมนต์ที่ใช้ร่วมกันในรถยนต์และระบบการเชื่อมต่อที่ใช้ร่วมกันในรถยนต์
- การเปิดตัวแพลตฟอร์ม Connected Cloud เพื่อจัดการอินเทอร์เฟซข้อมูลทั้งหมด
- แพลตฟอร์มระบบคลาวด์จะเปิดทางให้เกิดการพัฒนาศักยภาพระบบขับขี่อัตโนมัติสำหรับบริการรถยนต์ไร้คนขับ รถยนต์ขนส่งสินค้าขับขี่อัตโนมัติ และรถยนต์รับส่งขับขี่อัตโนมัติแพลตฟอร์ม Connected Cloud จะมอบประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติงานให้แก่บริษัทในเครืออย่างการจัดการการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยกระดับการแบ่งปันข้อมูลด้านการผลิต รวมถึงการเป็นกลไกเพื่อลดต้นทุนการรับประกัน
แผนการเชื่อมต่อจะรวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศแบบเปิดที่ทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่และคุณสมบัติใหม่ที่จะถูกติดตั้งใช้งานตลอดทั้งวงจรชีวิตของรถยนต์