x close

เจาะลึก Toyota Mirai ยุคใหม่ของรถยนต์ เลิกเติมน้ำมัน

Toyota Mirai
เจาะลึก Toyota Mirai ยุคใหม่ของรถยนต์ เลิกเติมน้ำมัน


Toyota Mirai

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก toyota

          เจาะลึก Toyota Mirai ยุคใหม่ของรถยนต์ Toyota Mirai รถพลังไฟฟ้าจากไฮโดรเจน

          หากกล่าวถึงพลังงานทางเลือกล่าสุดของรถยนต์ เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell) กำลังถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก เพราะบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง โตโยต้า ได้ประสบความสำเร็จการผลิตรถยนต์ชนิดนี้ พร้อมกับเริ่มจำหน่ายแล้ว

          โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) เป็นผู้จุดส่งสัญญาณว่ายุคใหม่แห่งยานยนต์โตโยต้าเริ่มต้นขึ้น ทั้งประสิทธิภาพไม่ต่างจากรถในยุคปัจจุบัน การปล่อยไอเสียเป็นศูนย์ รวมถึงข้อจำกัดทางด้านเชื้อเพลิงก็หมดไป

          ทั้งนี้เราอาจจะได้ยินเรื่องทางการตลาดทำให้เกิดความสับสนเรื่อง โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) อยู่บ้าง แต่แท้จริงแล้ว โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า ซึ่งเติมเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell) เข้าไปเพื่อก่อกำเนิดไฟฟ้าให้ระบบขับเคลื่อน

          โดยพลังงานไฮโดรเจนนั้นมาได้จาก 2 แหล่งใหญ่ คือ จากพลังงานธรรมชาติเดิมที่ยังมีวันหมดได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ชีวมวล เชื้อเพลิงเหลว และอีกแหล่งที่มาคือการสกัดเอาจากน้ำ ที่มีสองวิธีหลัก ใช้ไฟฟ้าหรือการสตรีมโดยแสงอาทิตย์ (steam reforming) โดยจากสูตรทางเคมีน้ำคือ H2O และเมื่อแยกเสร็จเราจะได้ ไฮโดรเจน (H2) และ ออกซิเจน (O)

          แต่ระบบเซลล์เชื้อเพลิงที่จะใช้ใน โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) ต้องจำเพาะกว่านั้น กับเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (FC Stack) ที่จะให้ไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ บนพื้นผิวเซลล์มีขนาดกะทัดรัด และสมรรถนะสูง มีความหนาแน่นของกำลังถึง 3.1 กิโลวัตต์/ลิตร

          นอกจากนี้ในรถ โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) ยังจัดอุปกรณ์เพิ่มศักยภาพเซลล์เชื้อเพลิง (FC Boost Converter) ที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพสูง ออกแบบมาให้สามารถเพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นในเซลล์เชื้อเพลิง (FC Stack) ให้สูงขึ้นถึง 650 โวลต์ เพิ่มแรงดันไฟฟ้าทำให้มอเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กลง

          ในส่วนของถังเก็บไฮโดรเจน ทำจากพลาสติกเสริมคาร์บอนไฟเบอร์และวัตถุดิบอื่น ๆ ซ้อนกันสามชั้น เพื่อกักเก็บพลังงานไฮโดรเจนที่ความดัน 70 เมกะปาสคาล (ประมาณ 700 บาร์) ทำให้การเติมไฮโดรเจนเต็มหนึ่งถังสามารถวิ่งได้ไกลถึง 650 กม. และใช้เวลาในการเติมเพียง 3-4 นาที

Toyota Mirai

          ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าให้กำลัง 154 แรงม้า แรงบิด 335 นิวตันเมตร ซึ่งยังไม่มีข้อมูลของเกียร์ออกมา สามารถเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ใน 9 วินาที

ข้อมูลจำเพาะของ โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai)

  เซลล์เชื้อเพลิง  
ชื่อ
เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (Toyota FC Stack)
 ประเภท  เซลล์เชื้อเพลิงพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์
ความหนาแน่นกำลังต่อปริมาตร
 3.1 กิโลวัตต์/ลิตร
กำลังสูงสุด
114 กิโลวัตต์ (155 แรงม้า)
 ระบบการทำความชื้น ระบบหมุนเวียนภายใน (humidifier-less ระบบควบคุมความชื้น)
ถังไฮโดรเจนความดันสูง   
จำนวนถัง
2
แรงดัน
 70 เมกะปาสคาล (ประมาณ 700 บาร์)
ความหนาแน่นของถังกักเก็บ
 5.7 wt%
ปริมาตรภายในถัง
 122.4 ลิตร (ถังหน้า: 60.0 ลิตร; ถังหลัง: 62.4 หลัง)
มอเตอร์  
ประเภท
 มอเตอร์ซิงโครนัสกระแสสลับ
กำลังไฟฟ้าออกสูงสุด
 113 กิโลวัตต์ (154 แรงม้า)
แรงบิดสูงสุด
 335 นิวตัน – เมตร (34.2 กิโลกรัม – เมตร)
แบตเตอรี่
ประเภท
 นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal hydride)

Toyota Mirai

          ด้านความปลอดภัยของตัวรถก็ทำขึ้นพิเศษระบบไฮโดรเจน ที่รับประกันว่าไฮโดรเจนจะต้องไม่รั่วซึมออกมา ในกรณีฉุกเฉินที่อาจมีการรั่วซึมเกิดขึ้น จะสามารถตรวจจับและหยุดการรั่วซึมของไฮโดรเจนได้ทันที ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไฮโดรเจนสะสมในตัวถังรถอีกด้วย

           มีเซ็นเซอร์ไฮโดรเจนแจ้งเตือนและสามารถออกคำสั่งปิดวาล์วหลักของตัวถัง

          ถังไฮโดรเจนและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับแก๊สไฮโดรเจน ติดตั้งไว้ด้านนอกห้องโดยสาร เพื่อให้ระเหยได้ง่าย เมื่อเกิดการรั่วซึม

          โครงสร้างรถช่วยกระจายและซับแรงกระแทกในหลากหลายชิ้นส่วน ช่วยเสริมความปลอดภัยในการปกป้องเซลล์เชื้อเพลิง และถังไฮโดรเจนความดันสูง ในกรณีรถชนทั้งด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยใส่เทคโนโลยีที่มีในตอนนี้แบบเต็ม ๆ อาทิ

          ระบบช่วยหยุดรถก่อนชน (Pre-collision System) (ด้วยเทคโนโลยีเรดาร์แบบคลื่นมิลลิเมตร) ช่วยป้องกันการชนปะทะและบรรเทาความเสียหายจากการชน โดยการแจ้งเตือนและควบคุมระบบเบรก เมื่อตรวจพบแนวโน้มว่าจะเกิดการชนปะทะ

          ระบบเตือนเมื่อออกจากเลน (Lane Departure Alert - LDA) ใช้กล้องเพื่อตรวจจับเส้นจราจรสีเหลืองหรือสีขาว และแจ้งเตือนผู้ขับขี่เมื่อรถกำลังจะเบี่ยงออกจากช่องจราจร

          ระบบควบคุมการเริ่มขับขี่ (Drive-start Control) ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และการใช้คันเร่งอย่างกะทันหันในช่วงเปลี่ยนเกียร์

          ระบบจอมอนิเตอร์ในจุดบอด (Blind Spot Monitor) ใช้เรดาร์ตรวจจับยานพาหนะที่อยู่ในช่องจราจรใกล้เคียง และช่วยยืนยันมุมมองด้านหลังรถเมื่อเปลี่ยนช่องจราจร

          และทั้งหมดนี้คือความสุดยอดใน โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) โดยเริ่มจำหน่ายแล้วที่ญี่ปุ่นเมื่อ 15 ธันวาคม 2557 กับราคา 7,236,000 เยน หรือประมาณ 2 ล้านบาทครับ

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai

Toyota Mirai



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เจาะลึก Toyota Mirai ยุคใหม่ของรถยนต์ เลิกเติมน้ำมัน อัปเดตล่าสุด 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:54:55 8,494 อ่าน
TOP