กรมขนส่งทางบกเตรียมถกแพทยสภา เสนอเพิ่มกลุ่มโรคต้องห้ามทำใบขับขี่ จากเหตุ ผอ. โรงเรียนเป็นโรคลมชักขับชนนักเรียนดับ
หลังเกิดเหตุการณ์ ผอ.โรงเรียนบ้านวังน้ำขาวชนูปถัมภ์ ขับรถชนเด็กนักเรียนโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จ.หนองบัวลำภู หลังโรคลมชักกำเริบ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 7 ราย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่าเตรียมหารือกับแพทยสภาในวันที่ 17 มิถุนายน ในการยกร่างแก้ไขข้อบังคับใบรับรองมาตรฐานสุขภาพ (ใบรับรองแพทย์) ในการทำใบขับขี่รถยนต์ เพื่อดูว่ามีข้อเสนอใดที่นำมาสู่การปฏิบัติได้บ้าง
การกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิคและเกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญด้วย จึงต้องดูรายละเอียดข้อกฎหมายให้ดี แต่จะเร่งให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนกันยายนนี้ และอาจใช้บังคับทั้งรถส่วนบุคคลและรถสาธารณะ
ส่วนข้อเสนอที่ต้องการให้ตรวจสุขภาพผู้ที่ได้ใบขับขี่ตลอดชีพเพิ่มเติม ในทางปฏิบัติยอมรับว่าผู้ที่มีอายุมาก สภาพร่างกายการมองเห็นอาจไม่เหมือนเดิม แต่เรื่องนี้กฎหมายได้อนุญาตไปแล้วการเพิ่มเงื่อนไขจะต้องแก้กฎหมายซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงยกเลิกใบอนุญาตขับขี่ตลอดชีพไปแล้ว
ปัจจุบันกฎหมายกำหนดโรคต้องห้ามในการขับขี่รถยนต์เพียง 5 โรค คือ
- ไม่เป็นโรคติดต่อเป็นที่รังเกียจ
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
- ไม่ติดสุรา
- ไม่ติดยาเสพติด
- ไม่ติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอและไม่เกี่ยวข้องกับการขับรถและไม่สามารถป้องกันภัยในการขับรถ โดยข้อบังคับใหม่ที่แพทยสภาเสนอจะเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถโดยตรง ประกอบด้วย
- โรคระบบประสาท เช่น โรคลมชัก,โรคกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง ทั้งมือ เท้ามีความพิการ
- โรคระบบการมองเห็น เช่น โรคตาบอดสีมองเห็นด้วยตาเพียงข้างเดียว
- และกลุ่มโรคอื่น ๆ อย่าง โรคระบบการได้ยิน โรคหัวใจ และโรคเรื้อรังอื่น ๆ พร้อมเช็กประวัติการผ่าตัด ซึ่งแพทยสภาได้จัดทำแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ให้ตรวจตามที่กำหนด
ทั้งนี้การยื่นขออนุญาตมีใบขับขี่ กำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปี บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ไม่เกิน 1 เดือนที่รับรองว่าไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ ส่วนผู้ที่มีร่างกายพิการ เช่น แขนขาดข้างเดียว ขาขาดข้างเดียว ตาบอดข้างเดียว ลำตัวพิการ หูหนวก จะต้องขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งฯ ก่อน
- และกลุ่มโรคอื่น ๆ อย่าง โรคระบบการได้ยิน โรคหัวใจ และโรคเรื้อรังอื่น ๆ พร้อมเช็กประวัติการผ่าตัด ซึ่งแพทยสภาได้จัดทำแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ให้ตรวจตามที่กำหนด
ทั้งนี้การยื่นขออนุญาตมีใบขับขี่ กำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปี บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ไม่เกิน 1 เดือนที่รับรองว่าไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ ส่วนผู้ที่มีร่างกายพิการ เช่น แขนขาดข้างเดียว ขาขาดข้างเดียว ตาบอดข้างเดียว ลำตัวพิการ หูหนวก จะต้องขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งฯ ก่อน