ประเทศไทยกับรถยนต์ไฟฟ้า EV กับอนาคตอันใกล้ และปัญหาที่ยังเคลียร์ไม่จบ

รถยนต์ไฟฟ้า EV

          นิสิตเก่าวิศวะจุฬาฯ จัดสัมมนา ประเทศไทยกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV)  ดึงภาครัฐและเอกชนให้ความรู้ พร้อมจัดนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้าหลากระบบ เตรียมรับยานยนต์แห่งโลกอนาคตอันใกล้

รถยนต์ไฟฟ้า EV

          เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำทัพจัดโครงการสัมมนาและนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้า ประเทศไทยกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ดึงตัวแทนจากภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเสวนาในประเด็นน่าสนใจต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและทำความรู้จัก "รถยนต์ไฟฟ้า" หรือ EV ยานยนต์แห่งอนาคตที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า
รถยนต์ไฟฟ้า EV

          พร้อมเผยนโยบายสนับสนุนจากทุกภาคส่วน นำเสนอนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าระบบต่าง ๆ จากผู้ผลิตและออกแบบในระดับประเทศและระดับโลก พร้อมจัดแสดงนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ภายในงาน

          ศาสตราภิชาน พูลพร แสงบางปลา แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักพัฒนาวงการยานยนต์ไทย กล่าวว่า "รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการพัฒนาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่ได้ชูเป็นนโยบายสำคัญและมีแผนที่จะส่งเสริมให้ผลิตในเร็ว ๆ นี้ ทำให้ประชาชนสนใจเป็นจำนวนมาก

รถยนต์ไฟฟ้า EV

          แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักรถยนต์ไฟฟ้ามากพอหรือยังมีข้อสงสัยในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะในประเด็นการใช้งาน การบำรุงรักษา เทคโนโลยี ความปลอดภัย ตลอดไปจนถึงนโยบายของภาครัฐที่จะออกมาส่งเสริมและรองรับนวัตกรรมยานยนต์ดังกล่าวควบคู่ไปกับการใช้งานของประชาชนและสอดคล้องกับภาคเอกชนจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ

          ดังนั้นสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการวิชาการยานยนต์ และคณะกรรมการวิศวกรอาวุโส จึงเห็นโอกาสที่จะจัดงานสัมมนานี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้าให้แก่นิสิตเก่า และผู้สนใจทั่วไป"

รถยนต์ไฟฟ้า EV

          วัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า "ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและมีแนวทางสนับสนุนที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ตามแผนบูรณาการพลังงานของประเทศ

          เช่นการร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ไฟฟ้าไทยในการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้กับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนจำนวน 100 สถานี ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า การส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ จะไม่กระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ แต่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลังงาน ได้ถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท เพราะรถยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ถูกกว่าน้ำมันหลายเท่า โดยได้ตั้งเป้าผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่ 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579"

รถยนต์ไฟฟ้า EV

          ภายในงานยังได้เสวนาถึงประเด็นน่าสนใจต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างรอบด้านจากผู้แทนองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อาทิ

          - ประเด็นระบบรถยนต์ไฟฟ้ามอเตอร์และแบตเตอรี่
          - ประเด็นสถานีชาร์จไฟและชนิดหัวชาร์จ
          - ประเด็นรถยนต์ไฟฟ้าระบบต่าง ๆ จากผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก
          - ประเด็นรถยนต์ไฟฟ้าคิดค้นประกอบใหม่ทั้งคันจากคนไทย
          - ประเด็นรถยนต์ดัดแปลง Retrofit จากเครื่องยนต์สันดาปมาเป็นขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

          นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้าระบบต่าง ๆ จากผู้ผลิตในตลาดโลก ผู้ผลิตไทย ผู้ดัดแปลงรถจากเครื่องยนต์สันดาปเดิม  และต้นแบบสถานีชาร์จไฟ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสกับนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบอย่างใกล้ชิด

          โดยผู้เขียนได้เข้าร่วมสัมนาครั้งนี้และขอบอกเล่าถึงประเด็นที่น่าสนใจในงานดังนี้

รถยนต์ไฟฟ้า EV

- รถพลังไฟฟ้าจะเริ่มได้เมื่อไหร่ ?

          ภาครัฐตั้งเป้าเป็น 3 ระยะ เริ่มแรกปี 2559-2660 เตรียมความพร้อม, ระยะที่สองปี 2561-2563 วิจัยเข้มข้น กระตุ้นการลงทุนด้านชิ้นส่วนรถพลังไฟฟ้า, ระยะที่สามปี 2564 เป็นต้นไป ผลักดันให้มีรถยนต์ส่วนบุคคลไฟฟ้า 1.2 ล้านคัน ขยายจุดฟาสต์ชาร์จทั่วประเทศ

          เท่ากับว่าเริ่มแล้วเวลานี้ ในส่วนของภาครัฐกำลังเปลี่ยนผ่านรถสาธารณะในกรุงเทพเป็นรถพลังไฟฟ้า หรือเรียกง่าย ๆ ว่ารถเมล์ไฟฟ้า นำร่อง 200 คัน จากความร่วมมือของ ขสมก. - กฟน. - กฟผ. - กฟภ. ที่ตอนนี้เดินหน้าไปหมดแล้ว เรื่องค้างติดอยู่ที่ ขสมก. เป็นหลัก

ภาคเอกชนนำร่องโดย ปตท. ใช้รถขนส่งพนักงานเป็นรถบัสไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า EV

          กำลังคำนวนค่าบริการขนส่งมวลชน โดยตุนทุนพลังเชื้อเพลิงถูกกว่า NGV ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน อาจทำให้ค่าโดยสารถูกลงด้วย พร้อมกับผลักดันรถยนต์รับจ้างเอกชนให้ใช้พลังไฟฟ้า นำร่องที่สามล้อไฟฟ้า

- ทำไมถึงยังไม่มีรถพลังไฟฟ้าล้วน วางจำหน่ายเลือกซื้อ ?

          หากมองเรื่องรถยนต์พลังไฟฟ้าตอนนี้หลายค่ายรถมีรถระดับโปรดักชั่นจำหน่ายแล้ว แต่ติดปัญหาเรื่องชุดหัวต่อชาร์จไฟ แต่ละค่ายต่างมีรูปแบบของตัวเอง ณ เวลานี้ (2 พศจิกายน 2559) ก็ยังไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ว่าจะใช้หัวชาร์จแบบใด

รถยนต์ไฟฟ้า EV
สำหรับเต้าเสียบกระแสสลับ ที่นิยมใช้ในบ้าน

          หน้าที่กำหนดมาตรฐานเป็นของ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ที่เริ่มเคาะชนิดของหัวชาร์จ รูปแบบของสายชาร์จ และกำหนดแรงดันไฟตามมาตรฐานความปลอดภัย

รถยนต์ไฟฟ้า EV
สำหรับเต้าเสียบกระแสตรง นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรม เป็นรูปแบบไฟสำหรับสถานีชาร์จ

รถยนต์ไฟฟ้า EV
มาตรฐานแท่นชาร์จไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า EV
มาตราฐานแรงดันไฟฟ้าในแต่รูปแบบการชาร์จ

ทำไมรถไฟฟ้ารถคาแพง ?

รถยนต์ไฟฟ้า EV

          อุปกรณ์หลักที่เกี่ยวข้องรถไฟฟ้า ประเทศไทยต้องนำเข้าทั้งหมด และราคาแบตเตอรี่ยังมีราคาสูง โดยแบตเตอรี่ 100 KW มีราคาสูงถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ. 2008 และเมื่อปีค.ศ. 2015 ราคาแบตเตอรี่ 100 KW เหลืออยู่ที่ 268 ดอลลาร์สหรัฐ โดยราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภคเป้าหมายคือ แบตเตอรี่ 100 KW ต้องต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ

ภาครัฐช่วยอะไรไหม กับการเชิญเอกชนลงทุนด้านรถไฟฟ้า ?

          อย่างที่กล่าวในข้อที่แล้ว ว่าชิ้นส่วนเกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าต้องนำเข้าทั้งหมด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน-BOI จึงได้ส่งเสริมการลงทุน ยกเว้นภาษีสำหรับผู้ผลิต กระตุ้นให้มีการผลิตในประเทศกับ 5 ชิ้นส่วนสำคัญของไฟฟ้าดันได้แก่ ชาร์จจิ้งออนบอร์ด, แบตเตอรี่, ตัวคอนโทรลไฟฟ้าสำหรับรถ, มอเตอร์ไฟฟ้า, แอร์สำหรับรถไฟฟ้า

          สำหรับค่ายรถยนต์ลดภาษีอากรน้ำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน CBU ระยะเวลา 2 ปี เพื่อทดลองตลาดรอการปรับ เป็นประกอบรถยนต์ในประเทศต่อไป

บางค่ายรถเห็นต่างกัน ด้านรถยนต์พลังไฟฟ้า !

          หากเป็นค่ายยุโรปเอาแน่รถพลังปลั๊กอินไฮบริด เพราะมีพลังไฟฟ้าให้ใช้เริ่มแรกเน้นไปชาร์จที่บ้าน มีการติดตังจุดชาร์จไฟฟ้าเองในห้างสรรพสินค้า เจาะกลุ่มคนเมืองเพราะเริ่มมีระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับ

          นิสสัน รอความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน พร้อมแย้มว่ารถพลังไฟฟ้า Nissan Leaf กำลังมีเจเนอเรชั่นใหม่เร็ว ๆ นี้ ที่วิ่งได้ไกลเกิน 400 กม.ต่อประจุแบตเตอรี่เต็ม

          โตโยต้าเห็นต่างสุด ขอมุ่งทำไฮบริดให้ทรงประสิทธิภาพ เพราะในประเทศไทยเพราะความเหมาะสมอยู่ตรงนี้ ด้วยขนาดของพื้นที่สัญจรและการผลักดันพลังงานทดแทนที่สะอาดมายาวนานเช่น ไบโอดีเซลกับเอทานอล ข้อจำกัดน้อยและเริ่มต่อได้ทันที

          หากสรุปโดยรวมตามแผนทั้งหมด ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุครถพลังไฟฟ้าในปีพ.ศ. 2560 มาในรูปแบบรถสาธารณะ เพราะมีเส้นทางที่แน่ชัด เลือกวางจุดชาร์จได้สะดวก ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลวันนี้ยังมีความเห็นต่างหลากหลาย และยังตกลงกันไม่ได้ครับ...

รถยนต์ไฟฟ้า EV

รถยนต์ไฟฟ้า EV

รถยนต์ไฟฟ้า EV

รถยนต์ไฟฟ้า EV

รถยนต์ไฟฟ้า EV

รถยนต์ไฟฟ้า EV



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ประเทศไทยกับรถยนต์ไฟฟ้า EV กับอนาคตอันใกล้ และปัญหาที่ยังเคลียร์ไม่จบ อัปเดตล่าสุด 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:21:22 12,134 อ่าน
TOP
x close