นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2559 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 54,986 คัน เพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
- รถเพื่อการพาณิชย์ 34,299 คัน เพิ่มขึ้น 12.1%
- รถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน 27,628 คัน เพิ่มขึ้น 22.2%
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2559
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 54,986 คัน เพิ่มขึ้น 1.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,895 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 27.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,949 คัน เพิ่มขึ้น 2.4% ส่วนแบ่งตลาด 21.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,109 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 16.6%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,687 คัน ลดลง 11.9%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 6,986 คัน เพิ่มขึ้น 14.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,643 คัน ลดลง 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,197 คัน เพิ่มขึ้น 6.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.6%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 27,628 คัน เพิ่มขึ้น 22.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,871 คัน เพิ่มขึ้น 2.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,852 คัน เพิ่มขึ้น 60.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,531 คัน ลดลง 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,609 คัน
โตโยต้า 1,925 คัน
มิตซูบิชิ 1,293 คัน
อีซูซุ 932 คัน
ฟอร์ด 373 คัน
เชฟโรเลต 86 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 23,019 คัน เพิ่มขึ้น 13.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,939 คัน เพิ่มขึ้น 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 6,927 คัน เพิ่มขึ้น 40.7% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,075 คัน เพิ่มขึ้น 24.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.0%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 34,299 คัน เพิ่มขึ้น 12.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,949 คัน เพิ่มขึ้น 2.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,252 คัน เพิ่มขึ้น 47.5% ส่วนแบ่งตลาด 27.0%
นดับที่ 3 ฟอร์ด 2,591 คัน เพิ่มขึ้น 29.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 12.1% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของตลาดรถยนต์ครั้งแรกในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 อีกทั้งเป็นการเติบโตต่อเนื่องของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์เป็นเดือนที่ 3 จากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ที่ได้แนะนำสู่ตลาดในช่วงที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนเมษายนยังคงปรับตัวลง จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบให้การลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัว ประกอบกับภาวะภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อโดยรวม ทำให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมยังอยู่ในสภาวะทรงตัว