ประกันภัยรถยนต์ กับข้อมูลเบื้องต้นที่คนขับรถ ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ควรละเลย ทำไมถึงต้องทำประกันรถยนต์ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 และประกันภัยแบบอื่น ๆ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

สำหรับผู้ขับขี่ รถยนต์ ทุกคน เรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคงหนีไม่พ้นเรื่อง ประกันภัยรถยนต์ เพราะกฏหมายของบ้านเรากำหนดให้ผู้ที่ครอบครองยานพาหนะที่ใช้สัญจรบนท้องถนนต้องทำประกันภัยนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนคงมีคำถามหรือมีข้อสงสัยตามมา ตั้งแต่ว่า ทำไมถึงต้องทำประกันรถยนต์ ประกันภัยรถยนต์มีกี่แบบ แต่ละแบบต้องเสียค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันเท่าไหร่ หรือ ประกันชั้น 1, 2 และ 3 คืออะไร ลองมาไล่หาคำตอบเกี่ยวกับ ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้รถทุกคนกัน
ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร
การประกันภัยรถยนต์ (Motor Insurance) จัดเป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ซึ่งประกอบไปด้วย ความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ และความเสียหายที่รถยนต์ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น
ประกันภัยรถยนต์ จำเป็นต้องทำไหม
กฏหมายไทยบังคับให้ผู้ใช้รถทุกคันทุกประเภทต้องทำประกันภัยอย่างน้อยที่สุดคือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถโดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
2. เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล / สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

ประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ ประกันภาพบังคับ และประกันภาคสมัครใจ โดยแต่ละแบบมีความแตกต่างกันตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ประกันภาคบังคับ
ประกันภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันดีว่า ประกัน พ.ร.บ. นั่นเอง ซึ่งบังคับให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำเพื่อคุ้มครองตัวบุคคลจากผลกระทบของอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ โดยกฏหมายจะให้ความคุ้มครองในรูปของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามกฏหมายกำหนด
ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง
- ผู้ประสบภัย หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้
- ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
โทษของการไม่ทำประกันภัย
การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
อัตราเบี้ยประกัน
ประกันภัย พ.ร.บ. จะกำหนดอัตราเบี้ยสูงสุดอัตราเดียวตามประเภทของรถ เช่น จักรยานยนต์ รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เป็นต้น และการใช้งานของรถ เช่น รถส่วนบุคคล รถรับจ้าง หรือ ให้เช่า เป็นต้น ซึ่งไม่อนุญาติให้บริษัทประกันภัยคิดค่าเบี้ยประกันสูงเกินกว่าที่กำหนด โดยราคาของเบี้ยประกันมีดังนี้
- รถเก๋งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ประมาณ 800 บาท
- รถกระบะ ประมาณ 1,000 บาท
- รถตู้ ประมาณ 1,200 บาท
- จักรยานยนต์ ประมาณ 160-650 บาท ตามขนาดความจุกระบอกสูบหรือ ซีซี เครื่องยนต์

คือการทำประกันที่เกิดขึ้นตามความสมัครใจของเจ้าของรถ ซึ่งก็คือแบบประกันที่เจ้าของรถเป็นผู้เลือกซื้อเพิ่ม นอกเหนือจากประกันภาคบังคับนั่นเอง โดยส่วนมากประกันภาคสมัครใจจะให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งรถและผู้ประสบเหตุมากกว่าภาคบังคับ มีวงเงินคุ้มครองและสิทธิพิเศษอื่น ๆ มากกว่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากกว่าภาคบังคับด้วยเช่นกัน
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจมีกี่ประเภท
ปัจจุบัน ประกันภาคสมัครใจมีประเภทมากมาย แต่แบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1)
ประกันภัยประเภท 1 หรือประกันภัยชั้น 1 จะมีมูลค่าเบี้ยประกันสูงที่สุด
โดยราคาตั้งแต่ 13,000-36,000 บาท ทั้งนี้
ราคาเบี้ยจะสูงขึ้นตามอายุของรถและขนาดเครื่องยนต์

2. ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2)
สำหรับเบี้ยประกันของ ประกันภัยประเภท 2 หรือประกันชั้น 2 จะมีมูลค่าประมาณ 6,000-10,000
3. ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3)
- ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย
- ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ประกันภัยประเภท 3 หรือประกันชั้น 3 เบี้ยประกันสำหรับรถเก๋งส่วนบุคคลจะมีราคาตั้งแต่ 900-6,000 บาท
4. ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (ประกันภัยรถยนต์ชั้น 4)
5. ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 (ประกันภัยรถยนต์ 2+, ประกันภัยรถยนต์ 3+)
ประกันประเภทใหม่ที่ให้ความคุ้มครองเหมือนชั้น 2 และ 3
แต่เพิ่มความคุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินของผู้เอาประกันด้วย
จึงเรียกว่าเป็นประกันชั้น 2+ และ 3+ นอกจากนี้
ยังอาจเลือกให้คุ้มครองไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ หรือโจรกรรม
ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเสนอของแต่ละบริษัทประกัน

ประกันประเภท 5 ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้รถ โดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมกรณีต่าง ๆ ในวงเงินประกันที่ต่ำกว่า ซึ่งเบี้ยประกันอยู่ที่ประมาณ 5,000-20,000 บาท ตามเงื่อนไข
การทำประกันภัยรถยนต์ นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งช่วยคุ้มครองทั้งตัวผู้ขับขี่และคู่กรณี รวมถึงดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุร้ายอื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้การเลือกทำประกันก็จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์สูงสุด และการทำประกันรถยนต์ก็จะมีส่วนช่วยบรรเทาแก้ไขปัญหาหลังจากเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ภาระการป้องกันเหตุไม่คาดฝันไม่ให้เกิดขึ้น ถือเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ทุกคนที่ต้องช่วยกันขับขี่ด้วยความระมัดระวัง