x close

ความเข้าใจผิด ๆ ต้นเหตุอุบัติเหตุเหตุบนถนน

อุบัติเหตุเหตุบนถนน

ความเข้าใจผิด ๆ ต้นเหตุอุบัติเหตุเหตุบนถนน (GRAND PRIX)


          ในคอลัมน์ Knowledge นี้ ขอยกบทความของจุลสาร ลด หยุด ภัย ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประจำเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในคอลัมน์รู้ไว้เตือนใจเรื่อง "ความเข้าใจผิด ๆ ต้นเหตุอุบัติเหตุบนถนน" เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเข้าใจผิดและพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ไม่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย ขอเตือนพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ดังนี้

          กะพริบไฟสูงเตือน

          ส่วนใหญ่ผู้ขับขี่มักใช้ในกรณีเตือนมิให้ผู้ขับรถในทางร่วม ตัดเข้ามาในทางตรง แต่ตามกฎหมายมิได้กำหนดให้ใช้การกะพริบไฟสูงกรณีขับรถ ผ่านทางร่วม เพราะแสงไฟอาจรบกวนสายตาผู้ที่ขับรถสวนทางมา ทำให้เข้าใจผิดจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

          เปิดไฟฉุกเฉินขณะข้ามทางแยก

          เพราะผู้ที่ขับรถมาทางด้านข้างจะมองเห็น ไฟกะพริบเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งคล้ายกับการเปิดไฟเลี้ยว ทำให้ไม่ทันระวังจนเกิดการเฉี่ยวชนได้ เพื่อความปลอดภัยควรชะลอความเร็วและหยุดรถมอง จนแน่ใจว่าด้านซ้ายและขวาไม่มีรถ จึงขับรถผ่านไปได้

เปิดไฟตัดหมอกหรือสปอตไลต์

           เปิดไฟตัดหมอกหรือสปอตไลท์

           ให้เปิดใช้กรณีขับผ่านเส้นทางที่มืดมาก มีหมอกควันปกคลุมหรือทัศนวิสัยไม่ดี เพราะความสว่างของไฟจะรบกวนสายตาผู้ที่ขับสวนทางมา ทำให้มองเห็นทางไม่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้

           เปิดไฟเลี้ยวค้างไว้

           ให้เปิดไฟเลี้ยวเฉพาะกรณีจะเปลี่ยนเส้นทางเท่านั้น โดยเปิดล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 30 เมตร เพื่อเตือนรถคันหลังเพิ่มความระมัดระวัง

 เร่งความเร็ว

           เร่งความเร็วเมื่อเห็นสัญญาณไฟเหลือง

          ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุชนประสานงา เพื่อความปลอดภัย ให้ชะลอความเร็ว โดยแตะเบรกด้วยน้ำหนักและจังหวะที่เหมาะสมพร้อมทั้งหยุดรถหลังเส้นจราจรที่กำหนด

           จอดรถโดยเปิดไฟฉุกเฉินในพื้นที่ห้ามจอด

          เป็นการทำผิดกฎหมายจราจร แม้จะเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อบอกให้ทราบว่าจอดชั่วคราวก็ตาม รวมทั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนได้ เพื่อความปลอดภัยให้จอดในพื้นที่หรือบริเวณที่กำหนดเท่านั้น

อุบัติเหตุเหตุบนถนน

          นอกจากนี้ ขณะขับรถผู้ขับควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น คุยโทรศัพท์ พิมพ์ข้อความ ทานอาหาร แต่งหน้า และอุ้มเด็กนั่งตักขณะขับรถ เพราะจะทำให้ผู้ขับไม่มีสมาธิในการขับรถปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง การตัดสินใจในการควบคุมพวงมาลัยและเบรกช้าลง จึงเป็นเหตุเพิ่มความเสี่ยงต้อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ GRAND PRIX
ฉบับที่ 515 พฤศจิกายน 2555


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ความเข้าใจผิด ๆ ต้นเหตุอุบัติเหตุเหตุบนถนน อัปเดตล่าสุด 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 15:39:21 1,448 อ่าน
TOP