x close

ใบขับขี่ มีกี่ประเภท ? ข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่ประเภทต่าง ๆ

ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ คือ เอกสารที่กรมการขนส่งทางบก ออกให้กับบุคคลที่มีคุณสมบัติขับขี่ยานพาหนะบนถนนสาธารณะได้ ซึ่งมีหลายประเภท และมีหลักเกณฑ์ อายุการใช้งาน รวมถึงเวลาต่อใบขับขี่ต่างกัน

ก่อนที่จะสามารถนำรถยนต์มาใช้บนถนนสาธารณะ สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องมี คือ ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับ ใบขับขี่รถยนต์ หรือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็นหลัก แต่ความจริงแล้วใบขับขี่ที่กรมการขนส่งทางบกออกให้ยังมีอีกหลายประเภทตามลักษณะของยานพาหนะรวมถึงรูปแบบการใช้งาน และมีวันสิ้นอายุที่จะต้อง ต่อใบขับขี่ 2567 แตกต่างกันด้วย และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับประเภทของใบขับขี่ว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไรเพื่อใช้งานได้ถูกต้องตรงตามจุดประสงค์อย่างถูกกฏหมาย

ใบขับขี่

สำหรับใบอนุญาตขับขี่นั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วย

1. ประเภท ส่วนบุคคล (บ.)

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล จะใช้สำหรับรถในการขนส่งส่วนบุคคล รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ

2. ประเภท ทุกประเภท (ท.)

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท จะใช้สำหรับรถสาธารณะ รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง ซึ่งใบอนุญาตขับรถประเภททุกประเภทนั้น สามารถใช้ทดแทน ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้

ชนิดของใบขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

1. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว

คือ ใบขับขี่สำหรับคนไปทำครั้งแรก ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว มีอายุ 2 ปี, ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว อายุ 2 ปี  และใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว อายุ 2 ปี โดยผู้ขอรับใบขับขี่จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และทุกประเภทจะมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

อายุ 2 ปี / ค่าธรรมเนียม 100 บาท

2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่ชนิดนี้ เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยที่สุดเพราะเป็นใบอนุญาตสำหรับการขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลนั่นเอง โดยจะได้มาหลังจากการใช้ใบขับขี่ชั่วคราวมาครบตามอายุ 2 ปี จึงสามารถเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคล อายุ 5 ปี

อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 500 บาท

ใบขับขี่

3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่รถยนต์สามล้อจากชนิดชั่วคราว ไปเป็นชนิด 5 ปี หรือต้องการต่ออายุใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคล ซึ่งใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจะมีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท

อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท

4. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ

ใบขับขี่ชนิดนี้ออกให้สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพขับรถยนต์ขนส่งสาธารณะ หรือรถแท็กซี่ โดยต้องได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์

อายุ 3 ปี / ค่าธรรมเนียม 300 บาท

ใบขับขี่

5. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ

คือ ใบขับขี่ของผู้ที่ต้องการทำอาชีพขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือที่คนไทยเรียกติดปากกันว่า รถตุ๊กตุ๊ก โดยจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือแบบตลอดชีพ และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์

อายุ 3 ปี / ค่าธรรมเนียม 150 บาท

ใบขับขี่

6. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่

เป็นใบขับขี่อีกหนึ่งชนิดที่น่าจะเป็นที่คุ้นเคยสำหรับหลาย ๆ คน โดยผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่รถจักรยานยนต์จากชนิดชั่วคราว ไปเป็นชนิด 5 ปี หรือต้องการต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท

7. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ

ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการทำอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือวินมอเตอร์ไซค์ โดยต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณจะมีอายุ 3 ปี ค่าธรรมเนียม 150 บาท

อายุ 3 ปี / ค่าธรรมเนียม 150 บาท

ใบขับขี่

8. ใบอนุญาตขับรถบดถนน

สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถบดถนน ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรดังนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก), การขับรถอย่างปลอดภัย และ มารยาทในการขับรถ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบขับขี่

9. ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์

สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์เพื่อใช้งานในเกษตรกรรม ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์จะมีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท

อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบขับขี่

10. ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น

ใบขับขี่ชนิดนี้ก็คือใบอนุญาตสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาในข้อ 1 ถึง ข้อ 9 โดยจะมีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 100 บาท

11. ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี หรือ ใบขับขี่สากล

สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่าใบขับขี่สากล โดยผู้ที่สามารถทำใบขับขี่สากลได้ จะมีอายุเท่าไรก็ได้ แต่ที่สำคัญจะต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพแล้ว จึงจะสามารถยื่นขอทำใบขับขี่สากลได้ โดยใบขับขี่สากลจะมีอายุ 1 ปี ค่าธรรมเนียม 500 บาท

อายุ 1 ปี / ค่าธรรมเนียม 500 บาท

          ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้ประกาศให้บริการด้านใบขับขี่ ใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถในส่วนที่ไม่ต้องมีการอบรมในสำนักงานได้แล้ว สำหรับผู้ที่เข้ารับบริการต้องจองคิวต่อใบขับขี่ผ่านทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue

ขอบคุณข้อมูลจาก : sldriveschool.comdlt.go.th

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ใบขับขี่ มีกี่ประเภท ? ข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่ประเภทต่าง ๆ อัปเดตล่าสุด 5 มกราคม 2567 เวลา 11:28:22 399,573 อ่าน
TOP