x close

CU TOYOTA Ha:mo เปิดแล้ว โครงการรถพลังไฟฟ้า-คาร์แชริ่ง แก้ปัญหารถติด

CU TOYOTA Ha:mo

          ​เ​ปิดโครงการ​ CU TOYOTA Ha:mo ให้บริการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในเมือง โมเดลคาร์แชริ่ง ลดปัญหารถติด สยาม จุฬา สามย่าน เริ่มต้น ค่าสมาชิก 100 บาท ค่าบริการที่ 30 บาทต่อครั้ง สามารถใช้รถได้ 20 นาที
CU TOYOTA Ha:mo

​          นาย​มิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ ​นายเคอิจิ ยามาโมโตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท คอนเน็คเต็ด ร่วมกับ รศ.ดร. บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย พร้อมด้วย ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ คุณธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม เปิดตัวการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กร่วมกันภายใต้โครงการ CU TOYOTA Ha:mo ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 19 ธันวาคม 2560

          ​โ​ตโยต้ามองเห็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาระบบส่งกำลังรถยนต์ทางเลือก รถยนต์ไร้คนขับ ตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเดินทางที่รวบรวมเอาบริการทุกอย่างในด้านการขนส่งมาไว้ในโลกดิจิทัล (mobility-as-a-service) รวมถึงวิทยาการหุ่นยนต์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งนวัตกรรมอันก้าวหน้าเพื่อการคมนาคมของประชาชน

CU TOYOTA Ha:mo

          ​นายเคอิจิ ยามาโมโตะ กล่าวว่า "ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องยนต์และนวัตกรรมการขับขี่แบบไร้คนขับ ด้วยเหตุนี้เอง โตโยต้าจึงได้ประกาศแคมเปญ \'Start Your Impossible\' เพื่อจุดประกายในความท้าทายให้เกิดการพัฒนาด้านการสัญจรเพื่อคุณและเพื่อคนทุกคน โดยเรามุ่งที่จะขับเคลื่อนสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นด้วยการผลิตรถยนต์และคิดค้นพัฒนาแนวทางต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการคมนาคมสำหรับประชาชนและการขนส่งสินค้าต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

CU TOYOTA Ha:mo

          Ha:mo​ ทางเลือกใหม่ในการสัญจร

          โตโยต้าเชื่อว่าทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการคมนาคมได้​ ​คือการให้บริการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพิเศษให้ผู้คนสามารถใช้ร่วมกันเพื่อเดินทางไปยังที่ต่าง​ ​ๆ ได้อย่างอิสระ

          ระบบการเดินทางแบบ Ha:mo จึงถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น (ในโตโยต้าซิตี้ โตเกียว โอกายาม่า และโอกินาว่า) ประเทศฝรั่งเศส (ในเมืองเกรโนเบิล) และล่าสุด ณ วันนี้ คือที่กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ที่แรกที่โตโยต้าได้นำเอานวัตกรรมนี้มาใช้

          ความท้ายทายของโครงการ CU TOYOTA Ha:mo ในอนาคต

          โครงการนี้วางแผนที่จะให้​ CU TOYOTA Ha:mo เป็นเวทีของนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation Platform) เพื่อการพัฒนาสังคมของการสัญจรในอนาคตร่วมกันด้วยการส่งเสริมให้ผู้คนและสังคมปรับตัวเข้ากับกับนวัตกรรมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าร่วมกันอันเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาสังคม 

          เปิดโอกาสให้ทั้งบริษัทที่สนใจ นิสิตนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และองค์กรต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ช่วยให้สามารถรวบรวมแนวคิดต่าง ๆ คัดเลือกแนวทาง พัฒนาแผนโครงการ ตลอดจนทดลองใช้ในพื้นที่จริง อันนำไปสู่สังเคราะห์แนวทางการแก้ไขเพื่อคนไทยในอนาคตที่จะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าร่วมกัน

          รูปแบบการให้บริการและความคาดหวังข​อง​ CU TOYOTA Ha:mo

          โครงการ​ CU TOYOTA Ha:mo ถือกำเนิดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในโอกาสครบรอบ 55 ปีของการก่อตั้งโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย โดยจะมีการทดลองระบบการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพิเศษร่วมกันเพื่อวิ่งในระยะสั้น​ ​ๆ ภายในพื้นที่โดยรอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนจากต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางของผู้ใช้งาน

          ในเบื้องต้น การศึกษาระบบ Car Sharing แบ่งออกเป็น 2 ระยะ

          ระยะแรกจะเรียกว่าช่วงพัฒนา ใช้เวลา 2 ปี  ซึ่งมีรถให้บริการทั้งหมด 10 คัน และจะเพิ่มจำนวนรถอีก 20 คัน ในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 30 คัน

          หลังเสร็จสิ้นระยะแรก ทางโครงการจะทำการทบทวนและสรุปผล เพื่อเข้าสู่ระยะที่สองในรูปแบบธุรกิจยั่งยืนอย่างเต็มตัว โดยจะเชิญชวนให้ผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมลงทุน เพื่อขยายการให้บริการออกไปในพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่อื่น​ ​ๆ

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

          สำหรับพื้นที่ในการให้บริการในเบื้องต้น จะครอบคลุมบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสองฝั่ง โดยเตรียมสถานีจอดรถไว้ทั้งหมด 12 สถานี พร้อมทั้งติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า 10 สถานี และมีจำนวนช่องจอดรถให้บริการทั้งหมด 33 ช่องจอด ทำให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า ทั้ง MRT ที่สามย่าน, BTS ที่สยามสแควร์และสนามกีฬาแห่งชาติ รวมถึงรถโดยสารประจำทางหลายสาย

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

          กลุ่มเป้าหมายในการให้บริการคือนิสิต อาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป ผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของโครงการผ่านระบบออนไลน์หรือมาสมัครด้วยตนเองที่สำนักงานโครงการ ณ ชั้น​ ​1 อาคารมหิตลาธิเบศรแห่งนี้ โดยมีค่าสมาชิก 100 บาท

          โครงการจะคืนกลับในรูปแบบคะแนนสะสม สามารถนำมาแลกใช้บริการได้ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม เก็บค่าบริการที่ 30 บาทต่อครั้ง สามารถใช้รถได้ 20 นาที เกินจากนั้น คิดค่าบริการเพิ่มนาทีละ 2 บาท

          ชำ​ระค่าบริการะผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในรูปแบบบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตของทุกธนาคารโดยผู้ใช้สามารถจองใช้งานและชำระค่าใช้จ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สามารถสอบถามรายละเอียดได้ทางคอลเซ็นเตอร์ หมายเลขโทรศัพท์  02-305-6733

          นอกจากนี้โครงการยังได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลสู่สาธารณะผ่านทาง cutoyotahamo.com​  และ​​ช่องทาง​ ​เฟซบุ๊ก​ cutoyotahamo จำนวนผู้สมัครเป็นสมาชิกในโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 300 คน 

          จำนวนการใช้งานสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ที่เริ่มเปิดให้บริการคิดเป็นค่าเฉลี่ย 45 ครั้งต่อวัน เกินเป้าหมายที่กำหนด 40 ครั้ง/วัน โดยในแต่ละวัน มีความต้องการใช้งานหนาแน่นในช่วงเวลา 11.00-3.00 น. และ 15.00-17.00 น.

          ทางโครงการจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วางแผนการบริหารจัดการเพื่อเคลื่อนย้ายรถไปยังสถานีต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการตามช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

CU TOYOTA Ha:mo

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
CU TOYOTA Ha:mo เปิดแล้ว โครงการรถพลังไฟฟ้า-คาร์แชริ่ง แก้ปัญหารถติด อัปเดตล่าสุด 3 สิงหาคม 2564 เวลา 22:17:37 4,936 อ่าน
TOP