x close

เปิดแผนระยะยาวมาสด้า เครื่องยนต์เบนซิน SKYACTIV-X ไม่ต้องใช้หัวเทียน ลง Mazda 3

SKYACTIV-X

          มาสด้าประกาศวิสัยทัศน์​ เผยแผนการดำเนินธุรกิจ​ระยะยาว​ เน้นพัฒนาเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยตั้งชื่แผนว่า Sustainable Zoom-Zoom 2030 ตรียมเปิดตัวแนะนำ SKYACTIV-X เครื่องยนต์เบนซินเชิงพาณิชย์ที่จุดระเบิดด้วยการบีบอัดครั้งแรกของโลก

SKYACTIV-X

          ​เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 บริษัทมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศแผนงานระดับโกลบอลว่า มาสด้าได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่เพื่อก้าวไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยวิสัยทัศน์ในระยะยาวภายใต้ชื่อโครงการ "SUSTAINABLE ZOOM-ZOOM 2030" ซึ่งมีรายละเอียดเยอะมาก เราจึงได้แกะประเด็นน่าสนใจไว้ให้

          สรุปให้ ก่อนอ่านรายละเอียดเต็ม แบบเรียงตามปี

          - ปี 2018 เตรียมปรับระบบ i-ACTIVSENSE เป็นความปลอดภัยของรถขั้นพื้นฐาน (ได้ทุกรุ่นย่อย)
          - ปี 2019 เปิดตัวเครื่องยนต์เบนซิน  SKYACTIV-X ไร้หัวเทียน ดูจากเวลาแล้ว เป็นช่วงเปิดตัว Mazda 3 เจเนอเรชั่นใหม่พอดี
          - ปี 2019 เริ่มเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า ไฮบริด และอาจรวมถึงปลั๊กอินไฮบริด
          - ปี 2020 เริ่มทดสอบเทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติ Mazda Co-Pilot
          - ปี 2025 เทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติ Mazda Co-Pilot เข้ามาเป็นมาตรฐาน (ได้ทุกรุ่นย่อย)

          แผนพัฒนาสู่ความยั่งยืน "Sustainable Zoom-Zoom 2030" และเครื่องยนต์เจนเนอเรชั่นใหม่ SKYACTIV-X​ แบบเต็ม​

SKYACTIV-X

          1. ซูม – ซูม อย่างยั่งยืน ภายในปี 2030 (Sustainable Zoom-Zoom 2030) 
​ ​มาสด้าเชื่อว่าพันธกิจที่สำคัญยิ่งของมาสด้า คือ การสร้างโลกที่สวยงาม และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและคนในสังคม มาสด้าจะพยายามแสวงหาหนทางใหม่​ ​ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนผ่านการมอบคุณค่าที่โลกยานยนต์สามารถให้ได้เพื่อโลกที่สวยงาม (Earth)​ ​
ด้วยการริเริ่มด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับมวลมนุษยชาติและเพื่อให้รถยนต์และมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนเพื่อความสมบูรณ์และความสวยงามอยู่เสมอของโลกใบนี้

SKYACTIV-X

          แนวทางปฏิบัติของมาสด้า

          ขยายมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างครบวงจร "Well-to-Wheel" ทั้งที่มาจากขบวนการจัดหาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงเพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานของรถยนต์ และการปล่อยก๊าซ CO2 จากตัวรถยนต์ โดยคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดวงจรชีวิตของรถยนต์

          มาสด้าตั้งเป้าหมายเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยของทั้งองค์กร Corporate Average Well-to-Wheel CO2 Emission ลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2553 และตั้งเป้าหมายลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2593 มาสด้าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยนโยบายการจัดลำดับความสำคัญของการปรับปรุงประสิทธิภาพและมาตรการด้านการปล่อยมลพิษที่สะอาดมากยิ่งขึ้น และสามารถใช้งานได้บนโลกแห่งความเป็นจริง

SKYACTIV-X

          เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว มาสด้าดำเนินการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด ปัจจุบันทั่วทั้งโลกรถยนต์ส่วนใหญ่ยังคงใช้เครื่องยนต์นี้และมีจำนวนมาก และจะยังคงต่อเนื่องไปอีกหลายปีต่อจากนี้ไป สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างเป็นรูปธรรม และรวมถึงการก่อให้เกิดผลลัพธ์กับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทำงานรวมกับเทคโนโลยีรถไฟฟ้าในอนาคต

          ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป จะเริ่มเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีอื่น​ ​ๆ เกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าในภูมิภาคที่ใช้พลังงานสะอาดเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือจำกัดเฉพาะยานพาหนะบางอย่างเพื่อลดมลพิษทางอากาศ

SKYACTIV-X

          ทางด้านสังคม (Society) ​มาสด้ามุ่งเน้นและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยและการสร้างความสุขในสังคมผ่านการพัฒนายานยนต์ และระบบการจัดการที่สร้างความอุ่นใจและเสริมสร้างชีวิตของลูกค้า ด้วยการมอบประสบการณ์การขับขี่แบบไร้ขีดจำกัดให้กับลูกค้าทั่วโลก

SKYACTIV-X

SKYACTIV-X

          แนวทางของมาสด้าพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยขั้นสูงสุด ภายใต้ปรัชญาความปลอดภัยเชิงป้องกันของมาสด้า ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อนำไปสู่การลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

          เพิ่มความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน เช่น ตำแหน่งการนั่งของผู้ขับขี่ที่เหมาะสม รูปแบบของแป้นเหยียบเบรก และทัศนะวิสัยในการขับขี่ และนำมาใช้จนกลายเป็นมาตรฐานสำหรับรถยนต์ทุกรุ่น

SKYACTIV-X

          ส่งเสริมการสร้างมาตรฐานใหม่เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความปลอดภัยขั้นสูงของ i-ACTIVSENSE ซึ่งช่วยให้ผู้ขับขี่ตระหนักและประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้น นอกเหนือไปจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้บรรจุเป็นมาตรฐานแล้ว มาสด้าจะนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ และให้กลายเป็นมาตรฐานในตลาดอื่น​ ​ๆ ทั่วโลก โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป

          เริ่มต้นการทดสอบเทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติ ในปัจจุบันถูกพัฒนาขึ้นโดยสอดคล้องกับแนวคิดการให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางการควบคุม และคอนเซ็ปต์ใหม่ Mazda Co-Pilot ในปี พ.ศ. 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปใช้ให้เป็นมาตรฐานในรถมาสด้าทุกรุ่นภายในปี พ.ศ. 2568

          การใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ที่ช่วยให้เจ้าของรถสามารถรองรับความต้องการของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลและยากที่จะสามารถเดินทางเข้าถึงได้

          สำหรับลูกค้าทั่วโลก (People)​ ​เพิ่มความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า เสริมสร้างความสุขกายสบายใจ ด้วยการมีส่วนร่วมในการปกป้องรักษาโลกใบนี้และการมีส่วนร่วมในสังคมด้วยรถยนต์ที่สามารถส่งมอบความสุขในการขับขี่อย่างแท้จริง

          แนวทางของมาสด้าเดินหน้าพัฒนาการขับขี่แบบ Jinba-ittai อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อปลดล็อคศักยภาพของผู้คนและฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ

          ยึดหลักปรัชญาการออกแบบยานยนต์เสมือนมีชีวิต ด้วยการก้าวพัฒนาไปอีกขั้นของการออกแบบอันสง่างามภายใต้ โคโดะ​ ดีไซน์ เพื่อยกระดับการออกแบบยานยนต์ให้เสมือนเป็นงานศิลปะ ที่เสริมสร้างชีวิตและอารมณ์ของทุกคนที่กำลังเหลียวมอง

SKYACTIV-X

          2. เครื่องยนต์เจนเนอเรชั่นใหม่ของ SKYACTIV-X​ ​ที่สุดของนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยียานยนต์
SKYACTIV-X เป็นเครื่องยนต์เบนซินเชิงพาณิชย์ครั้งแรกของโลกที่สามารถจุดระเบิดได้โดยการอัดอากาศ โดยการเผาไหม้ของเครื่องยนต์จะเกิดขึ้นจากการจุดระเบิดของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผสมกัน ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ในจังหวะของการอัด


SKYACTIV-X

          วิธีการเผาไหม้นี้เป็นกรรมสิทธิ์ซึ่งเรียกว่า Spark Controlled Compression Ignition ช่วยแก้ปัญหาสองเรื่องที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนาเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้การจุดระเบิดในจังหวะการอัดอากาศ นั่นคือ การเพิ่มพื้นที่เพื่อสามารถทำให้เกิดการจุดระเบิดในจังหวะการอัดของลูกสูบ และการพัฒนาการจุดระเบิดที่สมบูรณ์แบบนี้ได้รวมเอาข้อดีของการจุดระเบิดด้วยการอัดอากาศและการจุดระเบิดด้วยประกายการเผาไหม้เข้าไว้ด้วยกัน

SKYACTIV-X

          คุณสมบัติเครื่องยนต์เผาไหม้ใหม่ที่เป็นกรรมสิทธิ์นี้รวมข้อดีของเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล เพื่อให้ได้สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม สมรรถนะพลังแรงของเครื่องยนต์ และการเร่งสปีดความเร็วที่ยอดเยี่ยม
การจุดระเบิดด้วยการบีบอัดและการใช้ระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ บรรจุและอัดอากาศ ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมัน และสามารถทำให้เครื่องยนต์มีการตอบสนองได้อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และสามารถเพิ่มแรงบิด 10 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์​ ​ SKYACTIV-G ในปัจจุบัน

          การจุดระเบิดด้วยการบีบอัดสามารถช่วยให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์แบบได้ในภาวะ Super Lean Burn​ จึงเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์มากขึ้น 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ SKYACTIV-G ในปัจจุบัน หรือเพิ่มขึ้น 34 – 45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซินของมาสด้าในปี พ.ศ. 2551 ที่มีขนาดเครื่องยนต์เท่ากัน เครื่องยนต์ SKYACTIV-X เทียบเท่าหรือสูงกว่าเครื่องยนต์คลีนดีเซลรุ่นล่าสุด SKYACTIV-D ในเรื่องของประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพสูงในช่วงการทำงานที่กว้างของรอบเครื่องยนต์และภาระของเครื่องยนต์ ทำให้สามารถมีอิสระในการออกแบบค่าอัตราทดเกียร์ที่ต้องการที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและสมรรถนะการขับขี่ที่ดีเยี่ยม

          มาสด้ายังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์และก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง มาสด้าคาดหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยสร้างอนาคตที่สดใสสำหรับผู้คนทั่วโลกและสร้างสังคมให้น่าอยู่ สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับรถยนต์ เพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตของผู้คนผ่านประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถยนต์ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขในการขับขี่ จนกลายเป็นแบรนด์หนึ่งเดียวที่ลูกค้ารักและผูกพันพร้อมที่จะเดินหน้าเคียงคู่กันตลอดไป

​ภาพจาก Mazda และ​​​ Ars Technica​
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดแผนระยะยาวมาสด้า เครื่องยนต์เบนซิน SKYACTIV-X ไม่ต้องใช้หัวเทียน ลง Mazda 3 อัปเดตล่าสุด 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 15:48:20 8,228 อ่าน
TOP