x close

ผู้สูงอายุขับรถ ​ลูกหลานควรดูแลและตรวจสอบอะไรบ้าง

ผู้สูงอายุขับรถ

          ผู้สูงอายุขับรถ ​ลูกหลานควรดูแลและตรวจสอบอะไรบ้าง​ ​กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ออกมาแนะนำ ข้อควรปฏิบัติในการขับรถของผู้สูงอายุ

          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง สายตาพร่ามัวและโรคประจำตัวบางโรค จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ​ โดยเฉพาะหากอาการของโรคกำเริบ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 

          เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน สำหรับผู้ขับขี่ที่เป็นผู้สูงอายุ ดังนี้

ขับขี่ปลอดภัย

          ​- ​ก่อนขับรถ ​พาไป​ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสมรรถนะในการขับรถ​ การมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ การทำงานของแขนและขา 
หากแพทย์ไม่อนุญาต ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด

          ​- ​ ใ​ห้​​นำยารักษาโรคและบัตรประจำตัวติดตัวไว้เสมอ พร้อมระบุอาการ วิธีการช่วยเหลือและสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้ช่วยเหลือทันท่วงที 

ขับขี่ปลอดภัย

          ​- ​ หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงที่ทัศนวิสัยไม่ดี อาทิ ช่วงเวลากลางคืน ฝนตกหนัก หมอกควันปกคลุมเส้นทาง เพราะสายตาไม่สามารถปรับสภาพ
ให้มองเห็นเส้นทางได้อย่างชัดเจน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ขับขี่ปลอดภัย

          - ไม่ขับรถระยะทางไกลหรือในช่วงที่การจราจรติดขัด เพราะผู้สูงอายุจะมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที

          - ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง อาทิ โรคหัวใจ 
โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเบาหวานในระยะรุนแรง ไม่ควรขับรถด้วยตนเอง
อย่างเด็ดขาด เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ขับขี่ปลอดภัย

          หากทั้งหมดที่กล่าวมา พิจารณาแล้วมีความเสี่ยงก็ควรแนะนำผู้สูงอายุของท่าน ควรให้ผู้อื่นขับรถแทน หรือใช้บริการรถแท็กซี่ รถโดยสารสาธารณะแทน อาจยุ่งยากว่าสักนิด แต่ดีกว่าสูญเสียแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
​กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ผู้สูงอายุขับรถ ​ลูกหลานควรดูแลและตรวจสอบอะไรบ้าง อัปเดตล่าสุด 17 กรกฎาคม 2560 เวลา 10:09:59 3,410 อ่าน
TOP