x close

เชลล์ชวนแสดงพลังออกแบบกรุงเทพเมืองในฝัน ในงาน TEDx Bangkok 2015


          เชลล์ สำรวจความคิดเห็นผู้บรรยาย และผู้เข้าร่วมงาน ในงาน TEDx Bangkok 2015  ด้วยคำถามที่ว่า 1 สิ่งที่จะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองหลวงในฝันของคุณคืออะไร 

TEDx Bangkok 2015
คุณอริยะ พนมยงค์  หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ กูเกิล ประเทศไทย

"ผมชอบเมืองที่สามารถเดินได้  เมืองที่มีสีเขียวเยอะ ๆ"


TEDx Bangkok 2015
คุณวรรณสิงค์ ประเสริฐกุล นักเดินทางและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์

          “อยากให้มีศิลปะผสมกับชีวิตคนครับ คือถ้าไปเมืองต่างๆในยุโรปจะเห็นว่าเขามีศิลปะในด้านการแสดงเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วก็มีศิลปะที่เห็นในชีวิตประจำวัน ทุกคนสามารถเอาอะไรในชีวิตประจำวันมาสร้างสรรค์ได้”


TEDx Bangkok 2015
คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือดิจิตัลอุ๊คบี

“อยากให้กรุงเทพฯเป็นเมืองในฝันของ startup ครับ”



ดร. นิศรา การุณอุทัยศิริ นักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
 
         “ลดจำนวนคนที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพ กระจายรายได้ให้คนต่างจังหวัด ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้การเกษตรนั้นเจริญขึ้น คนก็จะไม่ย้ายเข้ามาในกรุงเทพ เราก็จะมีกรุงเทพฯที่ไม่แออัดขนาดนี้ค่ะ”

         "In order to see where the wave is coming from, you have to look at the ripples."
“หากอยากจะรู้ว่าคลื่นมาจากทิศทางใด จงเฝ้าดูระลอกคลื่นที่กำลังเคลื่อนไหว”- An Xiao Mina, TEDGlobal 2013

         เราเชื่อว่าทุกคนเปรียบเสมือนระลอกคลื่นใต้น้ำ ที่ส่งแรงสั่นสะเทือนจนก่อตัวเป็นคลื่นลูกใหญ่ และเราไม่สามารถมองเห็นทิศทางคลื่นในสังคมจากสิ่งที่ถูกป่าวประกาศโดยใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่มาจากแรงกระเพื่อมของคนทุกคนที่กำลังใช้ชีวิตอยู่ในสังคมนั้น ๆ TED เชื่อว่าพลังของความคิดสามารถเปลี่ยนทัศนคติ วิถีชีวิตของผู้คน ไปจนถึงโลกใบนี้ได้

          เช่นเดียวกับเชลล์ หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักในการจัดงาน TEDx Talk Bangkok 2015 เชื่อว่า พลังความคิด พลังสร้างสรรค์ของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน คือ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองในฝันของใครหลายคนได้อย่างที่ตั้งใจไว้ เชลล์จึงได้เชิญชวนผู้บรรยายในงาน TEDx Bangkok 2015  รวมทั้งผู้เข้าร่วมงานแสดงความคิดเห็นด้วยคำถามที่ว่า 1 สิ่งที่จะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองหลวงในฝันของคุณคืออะไร 

          จากผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนทั้งหมด 118 คน ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ช่วงอายุ 20-50 ปี  พบว่า คำตอบยอดฮิตที่หลายคนพูดถึงสูงที่สุดร้อยละ 27 คือ อยากให้กรุงเทพเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียว (greenspace) มากขึ้น มีบรรยากาศร่มรื่น เป็นเมืองที่สะอาด รองลงมาคือ ร้อยละ 24 อยากเห็นกรุงเทพมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่สะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทุกระบบ ทั้งการจ่ายเงินค่าโดยสาร และการเดินทาง เช่น บัตรโดยสารเดียวที่ใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และรถเมล์ รวมทั้งมีระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อกัน สะดวก ปลอดภัย ทำให้ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน

          ร้อยละ 20 อยากให้กรุงเทพ เป็นเมืองที่มีรอยยิ้มและมิตรภาพ ลดความขัดแย้ง ลดอคติ ช่วยเหลือกัน ทำประโยชน์ให้สังคม ทุกคนรู้จักหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย และสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น  โดยเริ่มที่ตัวเราเองก่อน เพื่อเป็นระลอกคลื่นกระเพื่อมให้เกิดพลังต่อไปในสังคม

          ร้อยละ 8 อยากให้ถนนเล็กลง ทางเท้าใหญ่ขึ้น เป็นเมืองที่ผู้คนสัญจรไปมาด้วยการเดิน ขี่จักรยาน มีต้นไม้ร่มรื่นตลอดทาง แต่ละซอยเชื่อมต่อเส้นทางกัน เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า  และสำหรับใครที่คิดว่าคนกรุงเทพไม่ชอบเดิน ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หนึ่งในผู้บรรยายจากงาน ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า  จากผลการสำรวจของคนกรุงเทพฯ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ในช่วงอายุระหว่าง 10 – 70 ปี พบว่าระยะทางเฉลี่ยที่ไกลที่สุดที่คนกรุงเทพฯพอใจจะเดินเท้าไปยังสถานที่ต่างๆ คือประมาณ 800 เมตรหรือประมาณ 10 นาที  โดยคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่พร้อมที่จะเดิน หากมีการจัดการกับอุปสรรคที่กีดขวางทางเดินเหล่านี้  ไม่ว่าจะเป็น การไม่มีร่มเงาบังแดดและฝน ทางเดินมืด แสงสว่างไม่เพียงพอ ทางเท้าสกปรก มีขยะมูลฝอย ทางเท้า เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือไม่ราบเรียบ

          กรุงเทพฯ จะกลายเป็นเมืองในฝันของพวกเราทุกคนอย่างที่หวังได้หรือไม่ การศึกษาล่าสุดของเชลล์ในหัวข้อ “เชลล์มองผ่านเลนส์สู่เมืองแห่งอนาคต” (New Lenses on Future Cities) พบว่าเมืองที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นสามารถเป็นเมืองที่น่าใช้ชีวิตได้ ตราบใดที่มีการออกแบบ มีการจัดการโครงสร้างสาธารณูปโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของระบบขนส่งสาธารณะและบริการต่างๆ เพื่อให้เป็นเมืองที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมือง โดยเฉพาะโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และความร่วมมือในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ

          แน่นอนว่าไม่มีสูตรสำเร็จ และไม่มีการออกแบบใดที่จะเหมาะสมกับทุกเมือง เพราะเมืองที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นสามารถเป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ ตราบใดที่มีการออกแบบ และการจัดการที่ดี   ลดการเพิ่มก๊าซเรือนกระจก คุณภาพชีวิตของคนอาศัยในเมืองก็จะดีขึ้น

          มาร่วมกันสร้างกรุงเทพฯให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย เป็นเมืองในฝันของพวกเรา ด้วยพลังความคิดของทุกภาคส่วน รวมถึงพวกเราในภาคประชาชน ที่ควรจะเริ่มต้นออกแบบกันตั้งแต่วันนี้ เพราะทุกสิ่งที่เราทำหรือตัดสินใจในวันนี้ จะมีส่วนกำหนดคุณภาพชีวิตของเมืองที่เราจะอาศัยต่อไป





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เชลล์ชวนแสดงพลังออกแบบกรุงเทพเมืองในฝัน ในงาน TEDx Bangkok 2015 อัปเดตล่าสุด 22 มิถุนายน 2558 เวลา 15:08:17 1,335 อ่าน
TOP